Saturday, February 7, 2009

สัตว์ป่าหิมพานต์ ต่อ..

มังกรวิหก ครึ่งมังกร ครึ่งราชสีห์ปนนก
ตัวเป็นราชสีห์ หัวเป็นมังกร มีปีก และหางเป็นนก สร้อยคอถึงหาง มีขนเป็นสิงโต
พื้นม่วงแก่

มัจฉานุ ครึ่งวานรครึ่งปลา
ตัวเป็นวานรทรงเครื่อง ท่อนหางเป็นปลา
พื้นขาวนวล

ม้ารีศ ครึ่งยักษ์ครึ่งกวาง
ท่อนบนเป็นยักษ์ สวมมงกุฎจีน ปากขบตาจระเข้ ท่อนล่างเป็นกวาง หางเป็นราชสิงห์ มีลายวนทักษิณาวรรตที่ท่อนล่าง
พื้นตัวขาวนวล

มยุระคนธรรพ์ ครึ่งคนธรรพ์ครึ่งนกยูง
ท่อนบนเป็นมนุษย์ทรงเครื่อง สวมมงกุฎลำโพง ท่อนล่างเป็นนก หางเป็นนกยูง ขาและเท้าเป็นสิงห์
พื้นเหลืองขาวนวล

มยุระเวนไตย ครึ่งนกยูงครึ่งครุฑ
ลำตัวเป็นครุฑ หน้าและหัวเป็นนกยูง แขนและขาเป็นครุฑ หางเป็นนกยูง
พื้นตัวครามอ่อน ปีกหางหงชาด

ระมาด แรดปนช้าง
ลำตัวเป็นแรดปนช้าง มีเกล็ดตลอดตัว ทรงเครื่องแบบภาพเขียนไทย
พื้นม่วง

โลโต เสือจีนปนสิงโตจีน
ตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นสิงห์ปนเสือ หางเป็นพวงอย่างสิงโตจีน มีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นหงดิน

วารีกุญชร ครึ่งช้างครึ่งปลา
ตัวและหัวเป็นช้าง มีครีบหลังครีบขา ครีบหางและหูลักษณะปลา
พื้นม่วง ครีบหาง หลัง ขา พื้น เขียว

อรหัน มนุษย์รูปร่างเตี้ย
มีปีก พบมากในตู้ลายรดน้ำ
พื้นเหลืองนวล

สกุณไกรสร ครึ่งนกครึ่งราชสีห์
ตัวเป็นราชสีห์ หัวเป็นนก หางมีขนพวง ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นหงดิน

สกุณเหรา ครึ่งนกครึ่งมังกร
ตัวเป็นนก หัวเป็นมังกร มีเขา หางกระหนก ขาและเท้าเหมือนครุฑ
พื้นหงดิน

สางแปลง ครึ่งเสือ ครึ่งสิงห์ ปนสิงห์โตจีน
ตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นครึ่งเสือ ครึ่งสิงห์ มีขนเหมือนสิงโตจีน หางพวง
พื้นสีจัน

สิงโตจีน สิงโตแบบจีน
ตัวเป็นสิงโต หน้าและหัวแบบสิงโตจีน ลายขนไหล่แบบลายจีน
พื้นเหลือง

สิงห สิงห์เพลิง สิงห์ขอม
ตัวเป็นราชสีห์ หน้าและหัวเป็นสิงห์เพลิง คือ สิงห์แบบขอม หางเป็นสิงโต มีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นม่วงอ่อน

สิงหพานร ครึ่งวานรครึ่งสิงห์
ท่อนบนเป็นวานร สวมมงกุฎยอดแหลม ท่อนล่างเป็นสิงห์ หางสิงโต
พื้นหงชาด

สีหรามังกร ครึ่งมังกรครึ่งสิงห์
ตัวเป็นสิงห์โต หัวเป็นมังกร หางสิงโต ตัวมีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นตัวหงดิน

สีหะศักดา ราชสีห์เท้าช้างมีเกล็ด
ตัวเป็นราชสีห์ เท้าเป็นเท้าช้าง ลำตัวมีเกล็ด
พื้นม่วงแก่

สีหะสุบรรณ ครึ่งสิงห์ครึ่งครุฑ
ตัวเป็นครุฑ หัวเป็นสิงห์ หางกระหนก มีปีกและหางเป็นนก เท้าสิงห์
พื้นหงชาด ปีกและครีบเขียว หางทอง

สินธพนัทธี ม้ามีหางเป็นปลา
ตัวและหัวเป็นม้า มีครีบและหางเป็นปลา
พื้นขาว ครีบและหางแดงชาด

สินธพกุญชร ม้าหัวช้าง
ตัวเป็นม้า ขาและหางเป็นม้า หัวเป็นคชสีห์
พื้นเขียวอ่อน ปทัดหลัง-หาง-กีบ ดำ

สินธุปักษี ครึ่งนกครึ่งปลา
ตัวเป็นนกอย่างครุฑ เท้าสิงห์ มีหางและครีบเป็นปลา
พื้นน้ำเงิน

สุบรรณเหรา ครึ่งครุฑครึ่งเหรา
ตัวเป็นนกแบบครุฑ หัวเป็นเหรา แข้งขาเป็นสิงห์ ขนหางเป็นนก
พื้นเขียวอ่อน

เสือปีก ครึ่งเสือปนครุฑครึ่งนกยูง
ลำตัวเป็นครุฑ หางเป็นนกยูง หัวเป็นเสือ ลำตัวมีลายเสือโคร่ง
พื้นเหลือง

หงส์ นกหางกินนร
ลำตัวเป็นนก หัวเป็นนกปากแหลมยาว มีหงอนเป็นกระหนด หางเป็นหางแบบกินนร
พื้นหงชาด

หงส์จีน นกปนไก่ฟ้า
เป็นนกคล้ายไก่ฟ้ามีขนคอเป็นพวง ขนหางยาว
พื้นหงเสน

เหมราช ครึ่งหงส์ครึ่งสิงห์
ตัวเป็นราชสีห์ มีลายวนทักษิณาวรรต หน้า หางและเท้าเป็นสิงห์
พื้นหงเสน

เหมราชอัสดร ครึ่งม้าครึ่งหงส์
ลำตัวเป็นม้า หน้าเป็นหงส์ เท้าและหางเป็นม้า
พื้นดำผ่านขาว หางขาว

เหรา กิเลนปนงู
ลำตัวยาวคล้ายงู มีครีบหาง มีขาและหัวเป็นกิเลน มีเขา
พื้นนน้ำเงิน

อนันตนาคราช งูหงอนห้าหัว
ลำตัวเป็นงู มีเกล็ดคล้ายพญานาค หัวเป็นนาคห้าหัว
พื้นเขียวปนน้ำเงิน

อัสดรเหรา ครึ่งม้าครึ่งเหรา
ลำตัวเป็นม้า หัวเป็นเหรา ท่อนคอมีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นม่วงอ่อน

อัสดรวิหก ครึ่งม้าครึ่งนก
ตัวเป็นม้า หน้าเป็นนก มีปีก
ตัวและหน้าเหลือง สร้อยคอและปีกหงชาด หางและกีบดำ

อสุรปักษา ครึ่งยักครึ่งนก
ลำตัวท่อนบนเป็นยักษ์ ปากอ้าตากลม สวมมงกุฎหางไก่ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกและหางเป็นนก
พื้นเขียว ปีกและหางแดง

อสุรวายุภักษ์ ครึ่งนกยักษ์ครึ่งนกอินทรีย์
ลำตัวท่อนบนเป็นยักษ์ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฑน้ำเต้า มีกาบรับบัวแวง ท่อนล่างเป็นนกอินทรีย์
พื้นเขียว

ไก่ตังเกี๋ย ครึ่งไก่ครึ่งนก
ตัวเป็นไก่ มีขนสร้อยคอเป็นพวง สร้อยหางเป็นนก ปลายหางยาว
พื้นเหลืองอ่อน

ไก่เสฉวน ครึ่งไก่ครึ่งนก
ตัวเป็นนกคล้ายไก่ฟ้า หัวมีหงอน สร้อยขนหางยาว
พื้นจันแก่

ไก่ฮกเกี้ยน ครึ่งไก่ครึ่งนก
ตัวเป็นนก มีสร้อยหางเป็นครึ่งนกครึ่งปลา หัวเป็นนก
พื้นหงชาด

ไกรสรวาริน ราชสีห์หางปลา
ตัวเป็นราชสีห์ ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต หลังและขามีครีบอย่างปลา และหางเป็นปลา
พื้นตัวสีเขียวมรกต

คชสีห์สินธุ์ คชสีห์หางปลา
ตัวเป็นราชสีห์ หัวมีงวง งาเป็นช้างอย่างคชสีห์ ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต ขามีครีบอย่างปลา
พื้นตัวเขียว

ทิชากรมฤค ครึ่งนกครึ่งกวาง
ลำตัวเป็นกวางมีเกล็ด มีหัว มีปีก และหางเป็นนก
พื้นตัวม่วงแดง

นาคอัสดร ครึ่งม้าครึ่งนาค
ลำตัวเป็นม้ามีเกล็ดอย่างนาค หัวเป็นนาคและหางเป็นม้า
พื้นตัวอมคราม

ปักษิณสีห์ ครึ่งสิงห์ครึ่งนก
ตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นนก ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต ขามีขนนก และหางสิงห์
พื้นตัวดินเหลือง

มกรคชสีห์ ครึ่งมังกรครึ่งช้าง
ลำตัวเป็นมังกรมีเกล็ด หัวมีงวง งาเป็นช้างอย่างคชสีห์ หางเป็นพวงอย่างสิงห์
พื้นตัวบัวโรย

มฤคเหมราช ครึ่งกวางครึ่งหงส์
ตัวเป็นกวาง มีหัว ปีก และหางเป็นหงส์ ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นตัวหงเสน

สกุณคชสีห์ คชสีห์มีปีก
ตัวเป็นราชสีห์ หัวมีงวง งาเป็นช้างอย่างคชสีห์ มีปีกและหางเป็นนก ลำตัวมีลายวนทักษิณาวรรต
พื้นตัวชาด

สกุณมกร ครึ่งมังกรครึ่งนก
ตัวเป็นมังกร หัวเป็นนก ขามีขนนก หางเป็นพวงกระหนก
พื้นตัวน้ำไหล

สุบรรณเหมราช ครึ่งครุฑครึ่งหงส์
หัวเป็นหงส์ ลำตัว แขนและขาเป็นครุฑ และหางเป็นกระหนก
พื้นตัวหงชาด

อัปสรปักษี ครึ่งอักสรครึ่งนก
ร่างกายเป็นนางฟ้าหรือนางอัปสร มีปีกและหางเป็นนก
พื้นตัวนวล

อสุรมัจฉา ครึ่งยักษ์ครึ่งปลา
ร่างกายเป็นยักษ์ มีอาวุธเป็นตะบอง มีหางเป็นปลา
พื้นตัวหงดิน

Friday, February 6, 2009

สัตว์หิมพานต์

นาคปักษี นาคปักษิณ พานรมฤค นรสีห์ อสูรปักษา เทพนรสิงห์ พานรปักษา อสุรวิหค สัมพาที นกเทศ พญาครุฑ หงส์ ติณราชสีห์ กาสรสิงห์ บัณฑุราชสีห์ สิงหรามังกร เหมราช สกุณไกรสร ทักทอ โตเทพอัสดร สินธพนที เหมราอัสดร กิเลน เหรา พญานาค มัจฉานุ แรด มัชฉวาฬ กุญชรวารี

นาคปักษี ดูตามชื่อเป็นสัตว์ที่ประกอบด้วย นาค(งู) และปักษี(นก) นาคนั้นตามนิยายย่อมจำแลงเป็นอะไรต่าง ๆ ได้ เพราะเป็นพวกมีฤทธิ์อย่างนิยายที่เล่ากันติดปากว่า ครั้งหนึ่ง มีพญานาคตนหนึ่ง แปลงเป็นมนุษย์มาขอบวชในพระพุทธศาสนา วันหนึ่งจำวัดหลับไป ขาดการสำรวม ร่างกายก็กลับเป็นพญานาคตามเพศเดิม  มีคนมาพบเข้า  เลยต้องสึก แต่ก็ขอฝากชื่อ "นาค" ไว้ ใครจะบวชก็ให้เรียกว่า "นาค" จากนิยายเรื่องนี้ เลยเกิดเป็นธรรมเนียมแต่งตัวผู้ที่จะบวชให้เป็น "นาค"ตามนิยมเมื่อโกนผมแต่งตัวนาค จะแห่ไปวัด ก็ทำลอมพอกเป็นหัวพญานาคสวมศรีษะในสมัยก่อนจะพบในบางท้องถิ่นอยู่เสมอ ในทางช่าง  เมื่อแสดงภาพนาคจำแลงเป็นมนุษย์ ก็สวมชฎายอดเป็นหัวพญานาคแต่ในภาพนี้แทนที่จะทำหางเป็นนก กลับเอาหางพญานาคมาใช้ จึงดูเป็นสามส่วนคือหน้าและตัวเป็นมนุษย์ ขาเป็นนก และหางพญานาค ดู  "นาคปักษิณ" ประกอบด้วย เพราะชื่อคล้ายกัน แต่ลักษณะต่างกันมาก รูป "นาคปักษี" นี้ผู้เขียนรูปไปได้แบบมาจากประตูโบสถ์วัดนางนอง ธนบุรี

นาคปักษิณ
นาคปักษิณเป็นสัตว์กึ่งน้ำกึ่งบก คือเอาส่วนหัวของ "นาค" มาประสม
กับส่วนตัวของ "ปักษิณ" ซึ่งแปลตามตัวว่า สัตว์มีปีก ก็คือนกนั่นเอง
"นาค"  มีความหมายหลายอย่าง แต่ในที่นี้หมายถึงงูใหญ่ในนิยาย
ซึ่งเรามักเรียกกันว่า "พญานาค"
พญานาคตามทัศนะของจินตกวีและช่างเขียนเป็นงูใหญ่ประเภทมีหงอนและเครา
ตามนิยายโบราณมักจะกล่าวถึงพวกนาคมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์เสมอ เรื่องของ
พญานาคมีที่มาเป็นสองทาง คือทางลัทธิพราหมณ์กับทางพุทธศาสนา พญานาค
ทางลัทธิพราหมณ์ออกจะถือกันว่าเป็นเทวดาแท้ ๆ เช่น พญาอนันตนาคราช และ
ท้าววิรุฬปักษ์ (ดูหนังสือ "เทวนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย")
ว่าถึงที่อยู่ของพวกนาค ก็มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ อย่างพญาวาสุกรี ที่
อยู่เมืองบาดาลก็ไม่ใช่ในน้ำ เป็นเมืองที่อยู่ใต้โลกมนุษย์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง นาค
ทางคัมภีร์พุทธศาสนามักอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ อยู่ในโพรงบ้าง ในถ้ำบนบกบ้าง
อยู่ในน้ำบ้าง อย่างพญานาคชื่อภูริทัต ในมหานิบาตชาดก ก็อยู่บนบก แต่ตาม
เรื่องไทย ๆ เราว่า พญานาคอยู่ในน้ำกันมาก
นาคพิภพที่ว่าอยู่ใต้ดินนั้น มีกล่าวในไตรภูมิพระร่วงว่า "แต่แผ่นดินดัน
เราอยู่นี้ลงไปเถิงนาคพิภพ อันชื่อว่าติรัจฉานภูมินั้น โดยลึกได้โยชน์ ๑ แล
ผิจะนับด้วยวาได้ ๘๐๐ วาแล"
นาคปักษิณ หัวเป็นนาค มีหงอน ส่วนท่อนหางเป็นแบบหางหงส์ เพื่อให้
รับกับส่วนหัว


พานรมฤค
พานี,  วานร แปลว่า ลิง เหมือนกัน คือในบาลีและสันสกฤตใช้ว่า วานร
ไทยเรามาแผลง  ว เป็น พ จึงเป็นพานร ถ้าเป็นหัวหน้าลิงก็ใช้ว่า พานรินทร์
คือ พญาลิง ในรูปก็เป็นพญาลิง ไม่ใช่ลิงธรรมดา
พานรมฤค  เป็นสัตว์ประเภทเดียวกันกับเทพนรสิงห์, นรสีห์ คือท่อนล่างเป็น
สัตว์ประเภทมีกีบ
คำว่า "มฤค" มีความหมายกว้าง คือหมายถึงสัตว์ป่า มีกวาง อีเก้ง เป็นต้น
ถ้าเป็นตัวเมีย ก็ใช้ว่า มฤคี
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น มฤคราช, มฤคินทร์, มฤเคนทร์ ก็หมายถึง ราชสีห์ กลาย
เป็นสัตว์ร้ายมีอำนาจขึ้นมาทันที ไม่ดูขลาดเหมือนกวาง เหมือนอีเก้ง
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พานรมฤคตัวนี้นุ่งผ้าสั้นเต็มที สั้นพอ ๆ กับนรสีห์
ซึ่งไม่เหมือนกับเทพนรสิงห์ที่นุ่งผ้าเรียบร้อย และโดยเหตุที่เป็นลิง ก็มักจะถือ
ผลไม้ซึ่งเป็นอาหารของโปรดไว้ด้วยเสมอ ดีกว่ามืออยู่เปล่า ๆ


นรสีห์
คำว่า "นรสีห์" มีความหมายในด้านภาษาหลายอย่างด้วยกัน
"นร" หมายถึง คน,ชาย ถ้าเป็นเพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี
"สิงห์" หมายถึง สัตว์ร้ายในจำพวกสัตว์กินเนื้อ
ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า นรสิงห์ ไว้ว่า นรสิงห์, นรสีห์ น.คน
ปานสิงห์ นักรบผู้มหาโยธิน
ในหนังสือสันสกฤต  ไท  อังกฤษ  อภิธาน อธิบายว่า "นรสิงห์
พระวิษณุในอวตารครั้งที่ ๔ นรผู้มีศีรษะเป็นสิงห์, อธิบดี, ประธานบุรุษ,
ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นใหญ่"
นรสีห์  ตามที่กล่าวข้างต้น หมายเอาเฉพาะคนที่มีศีรษะเป็นสิงห์ แต่ตามหลัก
ฐานอื่น นรสีห์ หน้าเป็นคน ตัวเป็นสัตว์ประเภทสิงห์ หรือพวกสัตว์ที่มีเท้าเป็นกีบ
นรสีห์นั้นว่ามีเป็นสองอย่าง คือ เท้าเป็นเล็บก็มี เท้าเป็นกีบก็มี ที่ทำ
ท่อนล่างเป็นดังตัวเนื้อ มีหางยาวปลายเป็นพู่อย่างนี้ เท้าก็เป็นกีบนรสีห์ในภาพที่
นำมาประกอบเรื่องนี้มีเท้าเป็นเล็บ ส่อลักษณะว่าเป็น สีห์เพื่อให้ตรงตามชื่อและ
เป็นนรสีห์ตัวเมียตามแบบไทย ๆ ดังจะสังเกตได้จากทรงผม ถ้าว่าตามทรวดทรง
ก็เป็นนรสีห์ที่ค่อนข้างเจ้าเนื้อ เพราะลักษณะของสีห์ ทำให้ดูเทอะทะไปบ้าง


อสูรปักษา
ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำอสูรไว้ว่า หมายถึงยักษ์ และอธิบายคำว่า
อสูร ว่าหมายถึง "อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี"
เหตุที่อสูรจะเป็นศัตรูกับพวกเทวกานั้น ก็เพราะสมัยหนึ่งพวกเทวดาคือพระ
อินทร์ได้วางแผนมอมเหล้าพวกอสูร แล้วจับพวกอสูรโยนลงมาจากสวรรค์ เทวดา
เข้าไปอยู่แทนหมด พวกอสูรจึงได้โกรธแค้นเทวดามาก พอถึงฤดูดอกแคฝอยบาน
คราวไร พวกอสูรก็นึกถึงดอกปาริชาตในแดนสวรรค์คราวนั้นแล้วก็ยกพวกขึ้นไป
รบกับพระอินทร์เพื่อแย่งเอาสวรรค์กลับคืนมา เป็นสงครายืดเยื้อมาก (ดูเรื่อง
พระอินทร์ในหนังสือ "เทวนิยาย" ของ "ส.พลายน้อย")
รูปอสูรปักษาอยู่ในชุดเดียวกันกับอสุราวิหค คือท่อนหัวและตัวเป็นยักษ์ ท่อน
ล่างเป็นนก แต่เพื่อให้ต่างกันออกไป ก็เปลี่ยนลักษณะของนกให้ผิดกันตามความ
เหมาะสม  อสูรปักษานั้นท่าทางเป็นยักษ์ใหญ่กว่าอสุราวิหค แต่ก็ถือกระบองด้วยกัน
เพราะขึ้นชื่อว่ายักษ์แล้ว ต้องมีกระบองเป็นอาวุธ


เทพนรสิงห์
ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า คำ นรสิงห์, นรสีห์ มีความหมายเหมือนกัน คือ
แปลว่า คนปานสิงห์ และ นักรบผู้มหาโยธิน
ตามภาพเขียนมักเรียกชื่อปน ๆ กันไปหมด ไม่ว่าเท้าจะเป็นอย่างไร ตาม
ปรกติ นรสิงห์, นรสีห์ ถ้าทำท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างมักจะเป็นลักษณะของสิงห์
คือเท้าเป็นสิงห์ หรือสีห์
แต่บางทีทำท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างกลับเป็นลักษณะของสัตว์ประเภทมีกีบ
คือพวกเนื้อทราย ก็เรียกปน ๆ กันไปว่า นรสิงห์ เหมือนกัน
ซึ่งความจริงน่าจะเรียกชื่อใหม่ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงบันทึกความรู้เรื่องสิงห์ประทานพระยาอนุมานราชธนตอนหนึ่งว่า "นรสิงห์
เป็นสองอย่าง คือ เท้าเป็นเล็บก็มี เท้าเป็นกีบก็มี นรสงิห์คือคนครึ่งสิงห์
เป็นสัตว์แบบย่อม มีอยู่เกือบทุกพวกทุกภาษา แต่ที่ของเรามีมา มักทำเท้าเป็นกีบ
นั้นประหลาดนักหนา ในตำราสัตว์หิมพานต์ก็มี ดูเหมือนเรียกว่า อัปสรสีหะ"
ดังนี้พอสรุปได้ว่า ถ้าท่อนบนเป็นนาง และเท้าท่อนล่างเป็นกีบ ก็เป็นอัปสร
สีหะ แต่เมื่อเปลี่ยนท่อนบนเป็นเพศชาย ก็กลายเป็นเทพนรสิงห์กระมัง


พานรปักษา
"พานรปักษา" มาจาก พานร แปลว่า ลิง และ ปักษา แปลว่า นก รวม
หมายความว่า ครึ่งลิงครึ่งนก
ในภาพไม่ใช่ภาพลิงธรรมดา แต่เป็นลิงใหญ่ทรงเครื่อง เพื่อเล่นลวดลายได้
และโดยเหตุที่ลิงชอบผลไม้ ช่างจึงให้ถือมะม่วงและชมพู่ ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น
ที่พิเศษก็คือ ทั้งลิงทั้งนกต่างก็มีหาง ผู้เขียนภาพเสียดายหางลิงไม่กล้า
ตัด ก็เลยทำให้มีทั้งสองอย่าง เมื่อหางลิงตวัดขึ้น หางนก หรือหางไก่ก็ห้อยลง


อสุรวิหค
อสุรวิหค ประกอบด้วยคำว่า "อสุร" และ "วิหค"
"อสุร"  หมายถึง อมนุษย์พวกหนึ่ง ซึ่งหมายรวมไปถึงพวกแทตย์,ยักษ์,มาร ฯลฯ
(มีกล่าวถึงอย่างพิสดารในหนังสือ "อมนุษยนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย")
ส่วน "วิหค" หมายถึง นก
เมื่อเอามาประกอบเป็นภาพ จึงได้เลือกส่วนหัวและลำตัวของอสุร ซึ่งเห็น
ได้ชัดว่าเป็นยักษ์เป็นมาร มาต่อเข้ากับส่วนขาและส่วนหางของนก ก็สำเร็จรูปเป็น
"อสุรวิหค"
ความจริง อสุรวิหค ในภาพนี้ไม่จำเป็นต้องถือกระบองก็ได้ แต่โดยเหตุที่
พวกอสุรมักนิยมถือกระบองเป็นอาวุธ ช่างเขียนก็เลยเขียนกระบองให้ถือเล่นไป
อย่างนั้นเอง
อสุรวิหคตามตัวอย่างนี้เป็นเพศชาย ถ้าจะเขียนให้เป็นชุดก็อาจเปลี่ยนให้
เป็นเพศหญิงได้อีกตัวหนึ่ง
ภาพอสุรวิหค เป็นภาพแนวเดียวกับภาพกินนร ซึ่งเป็นพวกครึ่งคนครึ่งนก ส่วน
ภาพอสุรวิหค เป็นภาพครึ่งยักษ์ครึ่งนก


สัมพาที
นกสัมพาทีเป็นนกที่กล้าหาญและเสียสละ
ดูตามรูปก็สวยงาม มีขนพอเหมาะ ถ้าว่าตามตำนานก็ต้องมีขนสีแดง แต่ตาม
เรื่องจริง ๆ แล้ว นกสัมพาทีเคยขนหลุดหมดทั้งตัวมาแล้วครั้งหนึ่ง
เรื่องมีอยู่ว่า สัมพาทีมีนกน้องอยู่ตัวหนึ่งชื่อ สดายุ เมื่อครั้งยังอยู่
ภูเขาอัศกรรณนั้น สดายุยังไร้เดียงสา วันหนึ่งเห็นพระอาทิตย์อุทัย นึกว่าเป็นผลไม้
สุกลอยอยู่ ก็โผถลาเข้าหาจะจิกกิน พระอาทิตย์โกรธหาว่าสดายุบังอาจ ไม่รู้จักที่
ต่ำสูง ก็เปล่งแสงทวีความร้อนเข้าใส่สดายุ
นกสัมพาทีเห็นไม่ได้การ ขืนปล่อยให้เป็นเช่นนั้น นกน้องคงต้องเป็นนกย่างแน่
ๆ  สัมพาทีจึงบินขึ้นไปกางปีกบังแสงอาทิตย์ให้น้อง ความร้อนเลยทำให้ขนสัมพาที
ร่วงหมด เท่านั้นยังไม่สะใจ พระอาทิตย์สาปซ้ำว่าอย่าให้ขนงอกขึ้นมาอีกเลย ให้ไป
อยู่ถ้ำเหมติรัน ถ้าวันใดทหารพระรามกลับจากนำแหวนไปถวายนางสีดา มาพักที่ถ้ำ
นี้แล้วโห่ขึ้นสามลา จึงให้ขนงอกขึ้นมาอีก นกสัมพาทีจึงมีขนงามดังในภาพ ไม่งั้น
กลายเป็นนกย่างไร้ขนไปแล้ว


นกเทศ
ดูตามรูปดู "นกเทศ" เหมือนจะหมายว่า เป็นนกที่มาจากต่างประเทศ หรือ
หมายถึงแขก เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ ผ้าเทศ
ถ้าเป็นนก เราก็เคยมีเรียกนกชนิดหนึ่งว่า นกกระจอกเทศ ซึ่งเป็นนกต่าง
ประเทศเข้ามาครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตามเรื่องว่า อะลังกะปูนี ชาวอังกฤษ ได้แล่นเรือกำปั่นเข้ามาเมืองไทยใน
รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ ได้นำม้าเทศ สิงห์โต และนกกระจอกเทศ
เข้ามาถวายเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๐๘
นกกระจอกเทศนั้นสูง ๓ ศอกคืบ เป็นนกที่สูงใหญ่แข็งแรงมากจนเด็กขึ้นไป
ขี่เล่นได้
แต่นกเทศในจำพวกสัตว์หิมพานต์ที่กล่าวถึง จะสมมมุติหรือคิดขึ้นเพื่อเป็นตัว
แทนนกกระจอกเทศหรือเปล่าไม่ทราบ ดูตามลักษณะเฉพาะส่วนหาง กระเดียดไป
ทางหางนกยูง  ซึ่งนกกระจอกเทศไม่มีหางเช่นนี้ ฉะนั้นจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็สรุป
เอาว่าช่างวาดคิดประดิษฐ์กันขึ้นมาเอง ผสมผสานให้ดูเล่นแปลก ๆ อย่างนั้นเอง


พญาครุฑ
ครุฑ  ตามความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงพญานก แต่โบราณเขียนว่า ครุธ
เพราะอักขระวิธีเดิมของเราไม่ใช้ ฑ เป็นตัวสะกดแต่ลำพัง แม้ที่ใช้เป็นตัวสะกดควบ
เช่น  วุฑฒิ วัฑฒนะ ก็มักตัดตัวกลางออกเหลือแต่ วุฒิ วัฒนะ ด้วยเหตุนั้นแต่เดิมจึง
เขียนเป็น ครุธ
ตามนิยายอินเดียกล่าวว่า พญาครุฑกับพญานาคเป็นพี่น้องกัน คือเป็นโอรสของ
พระกัศยปเทพบิดรและนางวินตาเป็นมารดา ส่วนมารดาของพญานาคคือนางกัทรุ
พูดง่าย ๆ ก็คือพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ พญาครุฑเป็นใหญ่ทางฝ่ายอากาศ พญานาค
เป็นใหญ่ทางน้ำ ตามปรกติพญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เพราะครั้งหนึ่ง
พญาครุฑกับพระนารายณ์ได้ประลองฤทธิ์กันและไม่สามารถเอาชนะกันได้ จึงตกลง
กันว่า ถ้าเวลาเดินทางไปไหน ให้พญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ แต่เวลา
อยู่กับที่ พญาครุฑนั่งสูงกว่าพระนารายณ์
ลักษณะของครุฑเป็นไปตามความคิดความเชื่อของแต่ละชาติ อินโดนีเซียคิดไป
อย่างหนึ่ง เนปาลคิดไปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นรูปร่างของครุฑจึงแตกต่างกันไป ท่าน
ที่ต้องการเปรียบเทียบลักษณะของครุฑจะหาอ่านได้จากหนังสือ "อมนุษย์นิยาย" โดย
"ส.พลายน้อย"
ตามคตินิยมของไทยได้ใช้รูปครุฑเป็นเครื่องหมายในผืนธง และเป็นพระ
ราชลัญจกรมาแต่โบราณกาล ในปัจจุบันใช้เป็นเครื่องหมายทางราชการ


หงส์
หงส์เป็นสัตว์ในวรรณคดีที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด คำว่า หงส์ ในพจนานุกรม
ของจิลเดอร์แปลไว้ว่า a goose, a swan ตามโบราณสถานหลายแห่งทำรูปหงส์
เป็นห่าน เช่นในชวาทำรูปพาหนะของพระพรหมเป็นห่าน คำว่า ห่าน นั้น ก็เข้าใจ
ว่าจะมาจาก หันส ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า หังส
ในสมัยสุโขทัย รูปหงส์ยังมีลักษณะเป็นห่านอยู่มาก คือยังไม่มีลวดลายหรือ
กระหนกมากเหมือนอย่างสมัยอยุธยาและกรุงเทพฯ รูปหงส์รุ่นเก่าจะดูได้จากภาพ
ปูนปั้นที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย และหงส์ดินเผาประดับฐานเจดีย์วัดช้างรอบ
กำแพงเพชร (ดูภาพลายเส้นได้จากหนังสือ "พุทธศิลปสุโขทัย" ของ "สงวน รอด
บุญ")
ตามตำนานกล่าวว่า พระพรหมธาดาได้บันดาลให้บังเกิดเป็นสุวรรณหงส์ขึ้น
เพื่อเป็นพาหนะ จึงได้นามปรากฏว่า "ครรไลหงส์" บางตำราว่าพระพรหมประทับ
บนรถ มีหงส์เจ็ดตัวลากรถก็มี
ในนิยายของอินเดียกล่าวว่าหงส์อยู่ทางทิศใต้ของเขาไกรลาศ ณ ที่นั้นเป็น
สระสวยงาม อันมีนามว่า มานะสะ หรือ มานัส กล่าวกันว่างามหนักหนา หงส์ตัวใด
ไปแล้วต้องไปอีก ในชาดกมีกล่าวถึงหงส์หลายเรื่อง เช่นว่า ครั้งหนึ่งพระสารีบุตร
เกิดเป็นกษัตริย์ครองนครสาคล พระพุทธเจ้าเกิดเป็นพญาหงส์ พระอานนท์ก็เป็น
หงส์รวมอยู่ด้วยได้ปกครองพวกหงส์ถึง ๙๖,๐๐๐ ตัว (ดูเรื่อง หงส์ ในหนังสือ
"สัตวนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย")
ตามนิยายโบราณของฝรั่ง เขาว่าหงส์ (Swan) ร้องครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิต
คือเมื่อจะตาย ว่ากันตามเรื่อง หงส์เป็นสัตว์หิมพานต์แท้ ๆ เพราะมีที่อยู่แน่นอน ใน
แดนหิมพานต์


ติณราชสีห์
ติณราชสีห์ เป็นพวกราชสีห์กินหญ้า (ติณ แปลว่า หญ้า) ดังได้กล่าวไว้ในเวช
สันดรชาดกว่า "ติณราชสีห์เสพซึ่งเส้นหญ้าเป็นอาหาร" ดูเป็นพวกมังสวิรัติ (ปราศ
จากความยินดีในเนื้อคนและเนื้อสัตว์)
เมื่อเทียบติณราชสีห์กับบัณฑุราชสีห์แล้ว จะเห็นต่างกันได้ชัดอยู่ ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งคือ ลาย ติณราชสีห์มีลายขดเป็นวง แต่บัณฑุราชสีห์มีลายเป็นแบบลายเสือ
ยิ่งมีสีเหลืองด้วยแล้ว ก็ใกล้เสือเข้าไปมาก
อีกอย่างหนึ่งที่ผิดกันที่หาง หางติณราชสีห์เป็นพวงงาม ลักษณะส่อให้เห็นขน
หางดกฟู ส่วนหางบัณฑุราชสีห์เป็นแบบหางสิงห์หรือหางราชสีห์ทั่ว ๆ ไป คือมีขน
เฉพาะที่ตอนปลายหางเท่านั้น
ถ้าดูตามอุปนิสัยที่กินหญ้า ติณราชสีห์ก็ดูไม่น่ากลัวอะไร แต่คำว่า ราชสีห์
นั้นยังแสดงอำนาจอยู่ อย่างน้อยเสียงคำรามก็คงทำเอาสัตว์อื่น ๆ ขนพองสยองเกล้า
ไปได้เหมือนกัน


กาสรสิงห์
การสรสิงห์นั้นมองดูเผิน ๆ เหมือนกับราชสีห์ทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อพิเคราะห์ดู
ให้ดีแล้วแตกต่างกัน เพราะรวมลักษณะของ กาสร กับ สิงห์ ไว้ด้วยกัน ท่อนหัวและ
ตัวเป็นแบบสิงห์ มีลายขดเป็นวง แต่ส่วนขาและเท้าเป็นแบบสัตว์มีกีบ เห็นจะมี
ลักษณะของควาย เพราะกาสรแปลว่า ควาย
เรื่องของกีบสัตว์นี้ก็แปลก มีต่าง ๆ กันไป ในทางช่างเขียนของเรา ท่านจะ
ถือหลักธรรมชาติหรือว่าเขียนตามโบราณต่อ ๆ กันมาก็ไม่ทราบ เพราะเห็นเขียน
กีบสัตว์บางชนิดปน ๆ  กันอยู่ ถ้าว่าตามเรื่องสมัยดึกดำบรรพ์ทีเดียวก็
ต่างกับในปัจจุบัน อย่างกีบม้านั้น ท่านว่าแต่โบราณทีเดียวมีกีบคู่ นอกจากกีบไม่
เหมือนกันแล้ว เครื่องในบางอย่างก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย
ถ้าว่าตามลักษณะของธรรมชาติ กาสรสิงห์ก็น่าจะมีกีบคู่แบบควาย แต่ตามรูป
เป็นแบบกีบเดียว จะว่าผิดก็ไม่ได้ เพราะรูปสัตว์เหล่านี้ไม่ใช่รูปสัตว์ตามธรรมชาติ
เป็นเรื่องของสัตว์ประสมตามจินตนาการ


บัณฑุราชสีห์
บัณฑุราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ของราชสีห์
ราชสีห์ในวรรณคดีมี ๔ ชนิด ดังมีพรรณาอยู่ในหนังสือมหาเวสสันดรชาดก
กัณฑ์ มหาพน ตอนหนึ่งว่า
"อนึ่งในห้องหิมพานต์ภูมิพนาวาสวิสัยสัตว์สุดที่จะรำพัน พวกคณานิกรสัตว์ทั้ง
หลายนั้น อนันต์อเนกนับมากกว่าหมื่นแสน ย่อมอาศัยในด้าวแดนดงกันการ ไพร
พฤกษาสารสโมสรสรรพสัตว์จัตุบทนิกรทวิบาท เป็นต้นว่า สัตว์สุรสีหชาติสี่จำพวก
พาฬผรุสร้ายราวีหนึ่งนามชื่อว่า ติณราชสีห์ เสพซึ่งเส้นหญ้าเป็นอาหาร หนึ่งชื่อว่า
กาฬสิงหะ  และ บัณฑุสุรมฤคินทร์ เสพซึ่งมังสนิกรกินเป็นภักษา สามราชสีห์มีสรีรกา
ยาพยพอย่างโคขนพิกลหลาก ๆ กัน  พรรณหม่นมอเป็นมันหมึกมืดดำสำลานเหลือง
เลื่อมแลประหลาดหนึ่งนาม ไกรสรสิงหราช ฤทธิเริงแรง ปลายหางและเท้าปาก
เป็นสีแดงดูดุจจะย้อมครั่งพรรณที่อื่นเอี่ยมดั่งสีสังข์ใสเศวตวิสุทธิสดสะอ้าน
ประสานลายวิไลผ่านกลางพื้นปฤษฎางค์แดงดั่งชุบชาด อันนายช่างชาญฉลาดลากลวดลง
พู่กันเขียนเบื้องอูรุนั้นเป็นรอยเวียนวงทักษิณาวัฏ เกสรสร้อยคอดั่งผ้ารัตตกัมพล"
กล่าวเฉพาะ  บัณฑุราชสีห์หรือบัฯฑุสุรมฤคินทร์นั้นจัดอยู่ในพวกสัตว์กินเนื้อ
ขนสีเหลืองอ่อนหรือขาวเหลือง เพราะคำว่า บัณฑุ แปลว่า เหลืองอ่อนหรือซีด


สิงหรามังกร
สิงหรามังกร เป็นสัตว์ผสมระหว่าง สิงห์ กับ มังกร
กล่าวตามพจนานุกรม สิงหรา หมายถึง สิงห์, สิงห์ตัวเมีย
ดูตามลักษณะลำตัวจะเป็นสิงห์ ท่อนหัวเป็นมังกร แต่ผิดกับตัวสิงห์ทั่ว ๆ ไป
คือ  แทนที่จะมีขนขดเป็นวง กลับมีเกล็ด เรียกว่า เอาเกล็ดมังกรมาประดับตัว
สิงห์แทน ส่วนหางยังเป็นลักษณะทางสิงห์ ถ้าว่ากันตามนิสัยและเผ่าพันธุ์ก็ไปด้วยกัน
ไม่ได้ สิงหราเป็นสัตว์อยู่ตามป่าตามถ้ำ ส่วนมังกร เป็นสัตว์น้ำหรือยู่ได้ทั้งในน้ำในอา
กาศ
มังกรเป็นสัตว์ในนิยายของจีน มีฤทธิ์มีอำนาจมาก สามารถบังคับฝนก็ได้
ลักษณะของมังกรมีกล่าวกันหลายตำรา บ้างก็ว่ามีหัวเหมือนม้า มีหูเหมือนวัว บ้างก็
ว่าไม่มีหูและว่ามังกรได้ยินเสียงจากเขาที่มีลักษณะเหมือนเขากวาง
ที่อยู่ของพวกมังกรนั้นว่าอยู่กลางทะเลลึก แต่ตามตำนานเขาแบ่งหน้าที่ของ
มังกรไว้  ๔  พวก คือ พวกรักษาวิมารเทวดา, พวกให้ลมให้ฝน, พวกรักษาแม่น้ำ
ลำธาร และพวกเฝ้าขุมทรัพย์


เหมราช
คำว่า  เหมราช จะแปลหรือหมายความว่าอะไรไม่รู้ ตามรูปคำน่าจะมาจาก "เหม" และ "ราช" ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำ "เหม" ไว้ว่า "ทองคำ, ช้างพวกหนึ่ง  ในสิบตระกูลเรียกว่า  เหมหัตถี, เรียกฝาหียหรือภาชนะบางอย่างซึ่งยอดเขาแหลมปิดทอง,   เรียกส่วนยอดประสาทถัดปล้องไฉนลงมา"  ไม่มีคำว่า เหมราช ถ้าจะให้เดาเล่น ๆ สัตว์ที่มีชื่อว่า "เหม" คงจะหมายถึงสัตว์ที่มีหน้าแหลม ๆ ตามภาพเขียนก็เห็นทำเป็นแบบหน้าแหลม ๆ ปากยาวกว่าหงส์ บางท่านก็เขียนเครา บางท่านก็ไม่เขียน   บางทีจะหมายเอาที่มีเคราเป็นตัวผู้  ที่ไม่มีเคราเป็นตัวเมียกระมัง  ในสมัยก่อนเคยได้ยินพูดกันว่า  "ทำหน้าเป็นเหมทีเดียว" นึกไม่ออกว่าทำหน้าอย่างไร คงจะปากยื่นยาวกระมัง ในบทกวีโบราณมักกล่าวถึงคำว่า  เหม  คู่กับ หงส์ อย่างเช่นขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนปลอบวันทอง  มีกลอนตอนหนึ่งว่า  "ไปเป็นเพื่อนพี่บ้างในกลางดง  ชมหงส์เหมเล่นให้เย็นใจ" หรือในนิราศนรินทร์ มีโคลงอยู่บทหนึ่งว่า "วัดหงส์เหมราชร้าง รังถวาย" ซึ่งในทางกวีหมายถึง พญาหงส์ทอง คำว่า  เหมราช เมื่อเทียบกับคำ นาคราช, สีหราช, หงสราช แล้วก็น่าจะหมายเพียงว่า เป็นสัตว์ที่มีอำนาจราชศักดิ์เป็นพญาเหม แต่ตามภาพเขียนของเหมราชเขียนท่อนตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นหงส์ คำว่า เหมราชจึงน่าจะเป็นเหมสีหราช หรือเหมราชสีห์มากกว่า

สกุณไกรสร
เมื่อเทียบดูระหว่างรูป "เหมราช" กับรูป "สกุณไกรสร" แล้ว จะเห็นว่า
เป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน คือเป็นสัตว์ประสมระหว่าง นก กับ สิงห์ ต่างกันแต่ว่า
เป็นนกคนละชนิด
เหมราช  เป็นนกประเภทปากหงส์ คือ ปากยาว  ส่วนสกุณไกรสรเป็นนก
ประเภทปากสั้น ส่วนลำตัวนั้นก็เป็นแบบเดียวกัน คือ เป็นสัตว์ชนิดเท้ามีเล็บแบบสิงห์
จะผิดกันตรงที่หาง เหมราชมีหางเป็นแบบสิงห์ หรือราชสีห์ ปลายหางเป็นพวง ส่วน
สกุณไกรสร  มีหางเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าว่ากันตามความหมายทางภาษา ไกรสร
ก็คือ  สิงห์โต ซึ่งตามพจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า "สัตว์ในนิยายของจีน ถือว่ามี
ความดุร้ายและมีกำลังมาก"
คำว่า  ไกรสร นั้นว่าแผลงมาจาก เกสรี หมายความว่า มีขนสร้อยคอ ส่วน
ราชสีห์นั้นหมายถึงพญาสิงห์โต เรียกสิงห์โตสามัญที่เขียนรูปอย่างแบบไทย สรุปว่า
ไกรสร  สิงห์โต ราชสีห์ เป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน แต่เมื่อเขียนให้เป็นไกรสรก็ทำ
หางให้เป็นอย่างหางสิงห์โตของจีน เมื่อเขียนเป็นราชสีห์ ก็ทำหางให้เป็นแบบ
ราชสีห์ไทย เรียกว่าผิดกันตรงหาง สกุณไกรสร จึงมีหางเป็นแบบหางสิงห์โต


ทักทอ
สัตว์ประหลาดที่เรียกกันว่า "ทักทอ" นั้น ดูเผิน ๆ เหมือนกับคชสีห์ เพราะ
มีจมูกยาวและมีงาด้วย ส่วนตัวนั้นเป็นสิงห์
"ทักทอ" เป็นภาษาอะไรก็ไม่ทราบ บรรดาครูช่างเขียนแต่ก่อนก็จนปัญญา
ตอบไม่ได้ นักเรียนก็อ่านไม่ออก ทัก-ทอ หรือ ทัก-กะ-ทอ บางคนตั้งแต่เกิดมายัง
ไม่เคยได้ยินแต่คนเก่าเขาอ่านว่า ทัก-กะ-ทอ
ทักทอ จะเขียนมาแต่เดิมอย่างไรไม่ทราบ แต่ได้พบในเอกสารเรื่องตำรา
หน้าที่ตำรวจในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่ามี เรือทักทวง
เรือทักทวง  นี้มีผู้ให้ความเห็นว่า คือ เรือทักทอ หรือทักกะทอ นั่นเอง เรือ
ทักทอคู่กับเรือนรสิงห์ เป็นเรือขบวนสัตว์แสนยากร เข้าขบวนแห่ เมื่อเป็นเช่นนี้
คำว่า ทักทอ หรือตัวทักกะทอ ก็มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโน้นแล้ว


โตเทพอัสดร
เป็นสัตว์อยู่ในพวก เหมราอัสดร หรือตัวเป็นม้า ผิดกันเฉพาะที่หัว โตเทพอัสดรมีหัวเป็นสิงห์โต คำว่า โต ในภาษาไทย หมายถึง สิงห์โต ได้ด้วย อย่างเช่น  เมื่อมีกลบทชนิดหนึ่ง  เรียกว่า  โตเล่นหาง ก็หมายถึง สิงห์โตเล่นหางนั่นเอง  ที่มีคำว่าเทพผสมเข้าไปด้วย  ก็เห็นจะให้หมายว่าเป็นสัตว์เทวดานั่นเอง มีสัตว์หิมพานต์ลักษณะเดียวกันนี้อีกแบบหนึ่ง เรียกกันว่า เทพีอัสดร เรื่องการตั้งชื่อสัตว์ประหลาด ๆ เหล่านี้ พวกช่างเองก็คงจะอึดอัดคิดไม่ค่อยออกเหมือนกันว่าจะตั้งชื่อว่าอะไรดี การตั้งชื่อจึงมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ๑.  เอาชื่อ  หรือลักษณะ หรือประเภทของแต่ละชนิดมารวมกัน เช่น พานรปักษา,นาคปักษิณ, สกุณไกรสร ฯลฯ คือเอาลักษณะของนกมารวมกับสัตว์อื่น แล้วหาคำเปลี่ยนไปให้แปลก ๆ ดังจะเห็นว่า ปักษา, ปักษิณ, สกุณ หมายถึงนกทั้งนั้น ชื่อเหล่านี้มักจะเป็นชื่อผสมขึ้นใหม่๒. ชื่อเฉพาะชนิด เป็นชื่อเดิมที่เรียกกันมาแต่โบราณ จะว่าเป็นสัตว์หิมพานต์รุ่นแรกก็เห็นจะได้ เช่น กินรี, กิเลน,เหรา, ทัณฑิมา เป็นต้น

สินธพนที
สินธพนที นั้น บางทีท่านก็เขียนว่า สินธพนัทธี ตามแบบโบราณ
สินธพนที  แปลตามตัวก็คือ ม้าน้ำ นั่นเอง แต่ถ้าแยกเป็นคำแล้ว ความหมาย
กว้างออกไปอีก
สินธพ  หมายถึง  ม้าพันธุ์ดีที่เกิดแถวลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุเป็นแม่น้ำ
สำคัญสายหนึ่งในอินเดีย
นอกจากนี้ สินธุ ยังเป็นชื่อเมืองโบราณของอินเดียอีกด้วย เมืองสินธุนี้เข้าใจ
กันว่าจะเป็นเมืองหนึ่งของรัฐสินธ ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางม้า ม้าดี
จึงมีนามว่า สินธพ หรือเรียกตามสันสกฤตว่า ไสนธวะ เรียกว่า ชื่อม้าเอามาจาก
ชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำ แล้วเลยกลายเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกม้ารวม ๆ กันไปด้วย
สินธพนที  หรือม้าน้ำ ก็มีลักษณะเป็นม้าธรรมดา ๆ นี่เอง จะผิดธรรมชาติ
อยู่ก็ตรงหางและเท้า
ปลา เป็นสัตว์น้ำ ตัดเอาหางปลามาต่อเข้าก็กลายเป็นม้าน้ำไปได้
ปลามีครีบ ก็เลยเอาครีบมาติดที่ขาม้าด้วย


เหมราอัสดร
เหมราอัสดร นั้น ตามตำราว่าตัวเป็น ม้า หน้าเป็น หงส์
ว่าตามศัพท์ คำว่า อัสดร หมายถึง ม้าดี แต่อีกทางหนึ่งว่าเป็นสัตว์พันธุ์พิเศษ
คือ เกิดจากพ่อที่เป็นลาและแม่ที่เป็นม้า หรือที่เรียกกันว่า ล่อ (พจนานุกรมไทย โดย
มานิต มานิตเจริญ)
แต่คำว่า ล่อ ในพจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า "สัตว์ลูกผสมชนิดหนึ่ง
ลักษณะครึ่งม้าครึ่งลา โดยมากแม่เป็นลา พ่อเป็นม้า" ความกลับกันกับที่กล่าวถึงใน
เรื่อง อัสดร
ในหนังสือนารายณ์สิบปางฉบับไทยกล่าวว่า พระพายเทวบุตรบันดาลให้เกิด
เป็นอัศวราช ม้าสี่ตระกูล
ชื่อ วลาหก เป็นตระกูลที่หนึ่ง
ชื่อ อาชาไนย เป็นตระกูลที่สอง
ชื่อ สินธพมโนมัย เป็นตระกูลที่สาม
ชื่อ อัสดร เป็นตระกูลที่สี่
ม้าทั้งสี่ตระกูลนี้นี้เป็นพาหนะของพระพายเทวบุตร

เมื่อแรกนั้น ม้าทั้งสี่ตระกูลนี้เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่คราวหนึ่งม้าทั้งสี่
นี้ไปได้นางอัศวราช ซึ่งเป็นม้าเทียมรถพระอุมา แล้วหลงใหลใฝ่ฝัน ครั้นไม่พบหน้าก็
กระวนกระวาย พากันเหาะติดตาม แล้วหลงเข้าไปในสวนของพระอิศวร กินหญ้าในสวน
เพลิดเพลินไป อสูรนนทการผู้เฝ้าสวนมาพบเข้าจึงจับไปถวายพระอิศวร ผู้เป็นเจ้า
จึงมีเทวโองการ สั่งอสูรนนทการให้จัดเอ็นเหาะที่เท้าม้าทั้งสี่นั้นเสีย อย่าให้เหาะ
เหินเดินอากาศได้สืบไป
สรุปความตามนิยาย  "เหมราอัสดร" ก็เป็น หงส์ กับ อัสดร คือม้าตระกูลที่
๔ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง


กิเลน
คำว่า  "กิเลน" เป็นคำที่มาจากภาษาจีน เป็นชื่อของสัตว์ในเทพนิยาย
จีนที่ออกจะแปลก คือสัตว์อย่างเดียวกันแต่เรียกต่างกัน
ถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า "กี"
ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า "เลน"
แล้วเอามาเรียกกันว่า "กีเลน" หรือ "กิเลน"

กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวาง แต่มีเขาเดียว หางเหมือนโค
หัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า (บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นเนื้อสมัน)
ว่าเกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และโลหะ ผสมกัน ข้อสำคัญว่ามีอายุ
อยู่ได้ถึงพันปี และถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี
ปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขเมื่อ
นั้นเป็นหนึ่งในสี่ของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มี หงส์ เต่า มังกร และกิเลน
ไทยเราคงรู้จักกิเลนของจีนมานานแล้ว ในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ที่ช่าง
โบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้ากระบวนแห่พระบรมศพ ครั้งรัชกาลที่ ๓ ก็มีรูป
กิเลนจีนทำหนวดยาว ๆ
ส่วนภาพกิเลนในนี้เป็นกิเลนแบบไทย มีกระหนกและเครื่องประดับเป็นแบบ
ไทย ๆ  การจัดลายประกอบผิดไปจากในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ของโบราณนั้นบ้าง ที่
แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว


เหรา
ในวรรณคดีมักจะกล่าวถึงสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "เหรา" อย่างใน
เรื่องอุณรุท ก็มีกล่าวถึงตอนนางศรีสุดาลงสำเภาไปในทะเลว่า

"เงือกงามหน้ากายคล้ายมนุษย์ เคล้าคู่พู่ผุดในชลฉาน
ราหูว่ายหาปลาวาฬ โลมาผุดพ่านอลวน
พิมทองท่องเล่นเป็นหมู่หมู่ สีเสียดปนอยู่กับยี่สน
จันทรเม็ดแมวม้าหน้าคน ฉลามลอยล่องพ่นวาริน
มังกรเกี้ยวกันกลับกลอก เหราเล่นระลอกกระฉอกกสินธุ์
ช้างน้ำงามล้ำหัสดิน ผุดเคล้านางกรินกำเริบฤทธิ์"

ในเรื่องนี้ไม่บอกว่า เหรา มีรูปร่างเป็นอย่างไร แต่พอจับความได้ว่า เป็น
สัตว์ทะเล ในพจนานุกรมอธิบายไว้ว่า เหรา เป็น "สัตว์ในนิยาย มีรูปครึ่งนาค
ครึ่งจรเข้" อ่านคำอธิบายแล้วยังไม่รู้ว่าครึ่งไหนเป็นอะไร ต้องฟังเพลงโบราณจึง
จะรู้ประวัติ เพลงโบราณเล่าถึงประวัติ เหรา ไว้ว่า

"บิดานั้นนาคา มารดานั้นมังกร
มีตีนทั้งสี่ หน้ามีทั้งครีบทั้งหงอน"

มีแปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ ในทางช่างกลับเรียกว่า "เหราพด" ทำไมจึงเรียก
อย่างนั้นก็ไม่ทราบ


พญานาค
เป็นสัตว์น้ำตามนิยายที่มีฤทธิ์อำนาจมาก ตามตำนานกล่าวว่า พญานาคเป็นโอรสของพระกัศยปเทพบิดร และนางกัทรุเป็นมารดา นี่ว่าตามนิยายอินเดีย เรื่องของนาคหรือพญานาค (คือสัตวที่มีตัวยาวเหมือนงู มีหงอน) มีเรื่องรวมอยู่ในนิยายนิทานเก่า ๆ ของไทยมากมายหลายเรื่อง อย่างเช่นเรื่องนางมโนราห์ก็มี พระยาจิตรชมภูนาคราช ซึ่งอยู่ในเมืองอุดรปัญจาล์ และทำให้เมืองนี้อุดมสมบูรณ์ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พระยาจิตรชมภูนี้มีเมืองอยู่ในน้ำใต้แผ่นดิน มีนาคสาว ๆ ห้อมล้อมมากมาย  และมีอาวุธสำคัญอยู่อย่างหนึ่งคือบ่วงบาศ ซึ่งครุฑกลัวมาก และต่อมาพรานบุญได้มาขอเอาไปจับนางมโนราห์ ตามปกติแล้ว นาคจะเป็นอาหารของครุฑ แต่ถ้านาคตัวไหนนับถือพุทธศาสนาก็จะปลอดภัยจากปากครุฑ นี่ว่าตามตำนานข้างฝ่ายพุทธ ในตำนานข้างพระพุทธศาสนา มีเรื่องเกี่ยวกับพญานาคหลายเรื่อง เช่น มากำบังฝนให้พระพุทธองค์ ซึ่งเราเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า พระปางนาคปรก เป็นต้น(เรื่องพิสดารของ พญานาค มีอธิบายไว้ในหนังสือ "อมนุษยนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย")

มัจฉานุ
มัจฉานุ  ไม่ใช่สัตว์หิมพานต์ เป็นสัตว์ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ แต่มี
อะไรพิเศษกระเดียดไปทางสัตว์หิมพานต์อยู่เหมือนกัน คือตัวเป็นลิงแต่มีหางเป็นปลา
ต้นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรามจองถนนข้ามไปกรุงลงกา การจองถนนต้อง
ใช้ก้อนหินถม แต่ถมเท่าไรก็ไม่เต็ม เพราะพวกรักษาท้องน้ำของทศกัณฑ์ให้พวกปลา
มาขนเอาไปหมด    เรื่องก็เดือดร้อนถึงหนุมาน ต้องแผลงฤทธิ์ไปดูเหตุการณ์ใต้
ท้องทะเล  ปราบพวกก่อการร้ายทำลายถนนเสียราบ แต่มีอยู่รายหนึ่งที่ไม่ใช้อาวุธ
รุนแรงประหาร  ก็ไม่ใช่ใคร นางสุวรรณมัจฉา ลูกสาวของทศกัณฑ์นั่นเอง หนุมาน
ใช้ศิลปะของการเจรจาจนผูกใจนางสุวรรณมัจฉาไว้ได้และยอมมอบตัวให้แต่โดยดี
นางให้พวกปลานำก้อนหินกลับมาถมจนสำเร็จเป็นถนน หนุมานเกลี้ยกล่อมผู้ก่อการ
ร้ายทำลายถนนสำเร็จ  และยังได้ผลผลิตติดตามมา คือ มัจฉานุ ซึ่งเกิดแต่นาง
สุวรรณมัจฉา


แรด
สมัยนี้ถ้าใครพูดว่า "สิบ-เอ็ด-รอ-ดอ" ก็รู้กันว่าหมายถึง แรด เพราะสระ
แอเวลาเขียนแล้วเหมือนเลข ๑๑
แต่ความหมายของ สิบ-เอ็ด-รอ-ดอ หรือ แรด ที่กล่าวนี้กระเดียดไปใน
ทางแส่หรือจัดจ้าน ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า แรด ไว้ว่า "ชื่อสัตว์ป่า
ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หนังหนา หยาบ เท้ามีกีบคล้ายเท้าควาย ที่สันจมูกมีเขา
เรียกว่า นอ บางตัวมีนอเดียว บางตัวมี ๒ นอ" ก็ไม่รู้ว่า แรด ไปเกี่ยว
อะไรกับเขาด้วย
แรดนี้ บางทีเขาก็เรียกกันว่า ระมาด ตามภาษาเขมร คนโบราณเองก็ไม่
ค่อยรู้จักแรด เมื่อช่างจะเขียนรูปแรดจึงทำเป็นรูปมีงวงคล้ายตัวสมเสร็จ ดัง
ที่ปรากฏในดวงตราพระเพลิงทรงระมาด ซึ่งเคยใช้เป็นตราประจำตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงธรรมการอยู่สมัยหนึ่ง (มีรูปอยู่ในหนังสือ "เรื่องตราต่าง ๆ "
โดย "ส.พลายน้อย")
ครั้นถึงสมัยรัชการลที่ ๕ เจ้าเมืองน่านส่งลูกแรดมาถวายตัวหนึ่ง คนกรุงเทพฯ 
จึงรู้จักแรดตัวจริงในครั้งนั้น และเคยเอาบุษบกเพลิงตั้งบนหลังแรดตัวนั้นแห่พระ
ศพครั้งหนึ่ง
ที่เอาบุษบกเพลิงตั้งบนหลังแรดก็เพราะมีตำนานว่า พระเพลิงมีพาหนะเป็น
แรดตั้งแต่ได้เห็นแรดตัวจริงแล้ว รูปแรดในตำราสัตว์หิมพานต์ก็ยกเลิกไป ไม่มีใคร
เขียนรูปแรดเป็นแบบตัวสมเสร็จอีก


มัชฉวาฬ
สัตว์หิมพานต์คราวนี้ดู ๆ ไม่น่าแปลก เพราะดูแล้วก็รู้ว่าเป็นปลา จะแปลกก็
ที่ชื่อ "มัชฉวาฬ" แปลว่าอะไรก็ไม่รู้
ได้ตรวจดูชื่ออะไรต่าง ๆ ที่คนโบราณเขียนไว้ในชุดสัตว์หิมพานต์ หรือภาพ
เทวดา  ปรากฏว่ามีชื่อแปลก ๆ หาที่มาไม่พบอยู่มาก บางชื่อก็เพี้ยนเพียงเล็กน้อย
พอเดาได้
คำว่า "มัชฉวาฬ" นี้ก็น่าจะอยู่ในจำพวก "เพี้ยน"
"มัชฉ" น่าจะเป็น "มัจฉ" ที่แปลว่า ปลา ฉะนั้น คำว่า มัชฉวาฬ ก็น่า
จะเป็น มัจฉวาฬ หมายถึง ปลาวาฬ นั่นเอง
ปลาวาฬ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ทะเล คนไทยเห็นจะรู้จัก
ปลาวาฬมานาน เคยอ่านพบว่าในสมัยโบราณ เคยมีปลาวาฬมีเกยตื้นในคลอง
แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลองนั้นเลยเรียกว่า คลองปลาวาฬ
ปลามัชฉวาฬตัวนี้มีที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ มีเขี้ยว ท่าทางออกจะดุร้าย มี
หนวดมีเครา   แต่เมื่อเขียนออกมาเป็นแบบไทย ๆ แล้วก็น่ารักไม่ใช่แต่น่ารัก
เฉพาะปลา แม้แต่คลื่นก็น่ารัก


กุญชรวารี
กุญชรวารี แปลตามตัวก็คือ ช้างน้ำ แบบเดียวกับ สินธพนที คือ ม้าน้ำ จะ
แปลกกันก็ตรงที่ ม้าน้ำ เป็นม้าทั้งตัวแล้วมีหางเป็นปลา เรียกว่าเปลี่ยนเฉพาะหาง
เท่านั้น ส่วน กุญชรวารี ตัวเป็นปลา หัวกับเท้าหน้าเป็นช้าง กุญชรวารี เป็นภาพ
สัตว์หิมพานต์ที่นิยมเขียนไว้ตามผนังโบสถ์ที่มีเรื่องเกี่ยวกับทะเล ก็จะมีช้างน้ำ
ว่ายคลอเคลีย อยู่ อย่างเช่นที่วัดช่องนนทรีย์ก็มี เมื่อดูามรูป กุญชรวารี ก็น่า
จะเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คือไปได้ทั้งบนบกและในน้ำ เมื่อจะเดินบนบกก็มี
เท้าสองหน้าพาเดินไปได้ หรือจะว่ายน้ำก็คงสะดวก เพราะมีเท้าช่วยพุ้ยน้ำ มีหาง
ปลาช่วยโบกส่งท้ายอีกแรง
ประวัติของกุญชรวารีจะมีมาอย่างไรไม่ทราบ ก็คงจะทำนอง
เดียวกับสัตว์หิมพานต์อื่น ๆ ที่ช่างเขียนคิดประสมกันเอาเอง แต่แปลกอยู่อย่าง
หนึ่งคือ น่าจะเอาคำที่หมายถึง ปลา มามีส่วนในชื่อด้วย
จะเป็น กุญชรมัจฉา หรือ คชมัจฉา ก็น่าจะได้
กลับใช้ชื่อว่า กุญชรวารี คงจะต้องการให้เป็นช้างน้ำเท่านั้นเอง

Thursday, February 5, 2009

สมบัติอมรินทร์คำกลอน

บ่า่งองล์อัมเรสร์อดิศร

ผ่านสมบัติในสุทัสนนคร สถาวรไปด้วยทิพศวรรยา
เอาสูงพื้นหมื่นแสนพระเมรุมาศ เป็นอาสน์ทองรองดาวดึงสา
กว้างยาวหมึ่นโยชน์คณนา ประคับปราการแก้วแกมกัน
สี่ทิศมีมหาทวาเรศ ระหว่างเขตหมึ่นโยชน์ระยะคั่น
ประตูรายหมายยอคสำกัญพัน มีสระสวนทุกหลั่นทวาไร ๆ
เจ็ดชั้นวชยันคปราสาท สี่มุขมาศคาดแก้วจำรัสไข
สูงพันโยชน์งามทีที่ใกล้ไกล มีธงชัยเฉลิมยอคพิมานทอง
ดังเบื้องพระกรพระบรมพรหเบศร์ กวักประเวศเทวัญบัญชาสนอง
ระยับคั่นแก้วกั้นกระหนกกรอง ประลองแสงล้ำแสงพระสุริยา
ที่เชิงปรางค์ในระหว่างจังหวัดนั้น รูปเทวัญถือทิพบุปผา
บ้า้งทรงปัญจาวุธบนอาชา เอามุกดาเป็นสร้อยวลัยกร
งามคณานางชูสุหร่ายสรง รูปอนงค์แก้วประพาฬประภัสสร
สลับไพฑูรย์องค์วิชาธร ทรงอาภรณ์ล้วนมณีนิล
หนึ่งแถวไม้กำมพฤกษ่ที่นึกทิพ จะนับแสนแทนสิบก็เกินถวิล
มีทรายทองรองรับกับพื้นดิน ประพรมสินธุ์เสาวรสจรุงใจ
ก่าแพงแก้วล้วนแก้วทองเจ็คชั้น ตาลสุวววณรุ่นรื่นเรียงไสว
เมึ่อลมพัดก็สะบัดสำเนียงใบ เฉลิมโสตหฤทัยดังดนตรี
หนึ่งโรงเทวสภาอันเนืองนิจ ควรพิศพื้นแก้วทั้งเจ็ดสี
สูงหาร้อยโยชน์สุดบราลี ท่วงทีเทิ้งทองทิฆัมพร
ฉลุบันก้านเกี้ยวเลี้ยวลด ช้อยชดเศียรสีหไกรสร
ช่อฟ้าชวนฟ้าให้ชมงอน แก้วทอนท่อนช้อนลำยองเรียง
บุพปขดารด้านฝาผนังเพชร มุมเม็ดเก็จกั้นเชิงเฉลียง
จระนำเจียระไนไพฑูรย์แท่ง ดวงแดงสุริยาวายังหมอง
บังอวจพิงอิงพาดจพนักรอง เขนยทองขนัดแท่นมณีนิล ฯ
ชานชาลาหน้าหลังพระลานมาศ ศิลาลาดแลกว้างเล่ห์ทางสินธุ์
อ่อนละไมใยทิพโกมิน มลทินมิได้สุมอยู่รุมราย
มีลมหนึ่งหอบหวนประมวลพัด ระบัดดวงปทุมามากรองถวาย
เป็นสิงหราชผาดเผ่นผยองกาย คชาส่ายงารำสำเริงเริง
บ้างร้อยรุมโกสุมเป็นสิงห์ขนัด ดูเอี้ยวอัดชัดเท้าจะโลดเถลิง
งามบุปผาอาชาประลองเชิง ที่ละเลิงเลี้ยวไล่ลำพองคะนอง
มะลุลีสารภีพิกุลแก้ว เป็นถ่องแถ้วมฤคีที่เยื้องย่อง
บ้างพัดดวงมณฑามากรายกรอง บนตั่งทองหอมฟุ้งจรุงใจ
ยังมีลมหนื่งรับเอาบุปผา ที่โรยรสพัดพาไปเนินไศล
เอาสินธุใสสินมลทินไคล มาพรมในรัถยาศิลาลาย ๆ 1
หนึ่งเจดีย์พระจุฬามณีสถต อันไพจิตรด้วยฤทธิ์สุเรนทร์ถวาย
สูงร้อยโยชนโชติช่วงประกายพราย ยิ่งแสงสายอสุนีในอัมพร
เชิญเขี้ยวขวาเบื้องบนซระทนต์ธาตุ ทรงวิลาศไปด้วยสีประภัสสร
แทนสมเด็จพระสรรเพชญ์ชิเนนทร สถาวรไว้ในห้องพระเจคีย์
ประดิษฐ์บนพระมหาจุฬารัตน่ เป็นที่แสนโสมนัสแห่งโกสีย์
กับสุราสุรเทพนารี ดั่งจะชี้ศิวโมกข์ให้เทวัญ
ประดับค้วยราชวัติฉัตรแก้ว พรายแพร้วลายทรงบรรจงสรรค์
ระบายห้อยพลอยนิลสุวรรณพรรณ เจ็ดชั้นเรียวรัดสันทัดงาม
ดั่งฉัตรเศวตพรหเมศร์ครรไลหงส์ เมื่อกั้นทรงพุทธาภิเษกสนาม
ยื่งดวงจันทร์พ้นแสงสมัยยาม อร่ามทองแกมแก้วอลงกรณ่
ครั้นถ้วนถึงวันครบอุโบสถ กำหนดพร้อมด้วยสุราสรางค์สมร
บูชาเครึ่องเสาวรสสุคนธร ข้าวตอกแก้วแกมช้อนสุมามาลย์
บ้างเริงรึ่นชึ่นชมประนมหัตถ์ กระทำทักษิกาวัฏบรรณสถาน
ประนอมจบเคารพไตรทวาร แล้วลีลาศยังสถานพิมานจันทน์ี้
มีพระยาไม้ปาริกชาติ ประจำเชิงเมรุมาศมไหศวรรย์
สูงร้อยโยชน์ยิ่งไม้ในหิมวันต์ ทรงสุคันธ์ทิพรสขจายจร
กลิ่นบุปผาฟุ้งฟ้าไปร้อยโยชน์ อบเอารสธาโรชเกสร
ทั่วสถานพิมานเทวนิกร เบิกบัญชรพิศงามเมื่อยามบาน
เพึ่อองค์วาสวรินทร์เทวราช ประเวศน์อาสน์ร่มไม้มณฑลสถาน
ประยูรหมู่สุรเทพเยาวมาลย์ สำราญรมย์ชมช่อมณีผกา
บักฑุกัมพลอาสน์ศิลาทิพ กำหนดสิบห้าโยชน์โดยหนา
กว้างสองหมึ่นโยชน์เจษฏา เป็นมหาบัลลังก์แก้วอำไพ
ยาวหกหมึ่นโยชน์แดงก่ำ ดั่งน้ำปัทมราชอันสุกใส
เจริญสวสัสดิโสมนัสแก่หัสนัยน์ ชุ่มฤทัยไปด้วยรสสุมาลี ฯ
อันภายนอกพระนครทั้งสี่ทิศ ย่อมโสภิตสระสวนเกษมศรี
แต่นามนันทวันโบกขรณี เป็นพื้นที่สนานสนุกแห่งเทวัญ
ระเบียบสระทั้งสี่วารีทิพ เหมือนจะหยิบเสาวรสให้ทรงสรรค์
มีโกสุมปทุมช้อนสลับกัน ทั้งชั้นสัตวาจงกลบาน
กว้างยาวร้อยโยชน์จตุรัส ให้โสมนัสในท่าสินธุสนาน
แม้นจิตสวิลว่าจะลงไปสรงธาร ก็บันดาลพุ่งพุ็งมายังองก์
มีขนานนาวาเป็นคู่คู่ ลอยชูกิ่งแก้วอันระหง
พระที่นั่งบุษบกบัลลังก์ทรง อลงกตด้วยโฉมสุรางค์นาง
งามระหงทรงพู่มรกค ช้อยชดช่อห้อยกระหนกหาง
ทรงชึ่งมุขสี่ด้านพิมานปรางค์ ไว้หว่างท่วงทีละอย่างกัน
หนึ่งเรือชัยฉากพายทองท่อง นางประจำลำร้องเพลงสวรรค์
หวนสำเนียงครวญเสียงโอดพัน เกษมสันต์ด้วยเทวนิกร ฯ
ในอุทยานนันทวันที่ประพาส รุกขชาติร่มรึ่นเกษมสลอน
มณฑาไม้ทิพรสขจายกร แก้วซ้อนเกดแ็ซมผกากาญจน์
รกฟ้ารังฟุ้งหวนหอม ประยงค์เปรียงพะยอมกลิ่นหอมหวาน
เสาวรสส่งรสสุมามาลย์ ลมพานเลึ่อนพวงลงร่วงราย
อุทยานมีมิ่งไม้สูงระหง จันทน์แดงเดื่อดงขล้อขลาย
กุหลาบกาหลงแลยางทราย กุ่มงอกแกมหงายสลับกัน
พุดจีบพวงจาบพิมเสนสน จำปาจวงปนนมสวรรค์
แคฝอยเค็ดฝิ่นโมกมัน กลำพอกลำพันคนทา
ควรพิศจิตรลดาวันสถาน มะลิพันเลื้อยพานพฤกษา
ช้องนางช้างน้าวมะลิลา มะลุลีลอยฟ้าดอกสะพรั่งไพร
ยมโดยแย้มดอกออกสลอน อัญชันอ่อนช้อยยอดไสว
สายหยุคส่งเสาวรสไกล กล้วยไม้เกลึ่อนหมู่เถาวัลย์
อันปารุสกวันซึ่งทรงผล ปรางปนปริงปานดังรังสรรค์
พวงหว้าพลับหวานม่วงมัน เกดจันทน์กำจัดไฟเฟือง
แลยอลำไยเรียงขนัด ขวิดสละขว้าวสลัดใบเหลือง
สวายสอไสวสีเึ่รื่อเรือง ชิดเนึ่องชั้นเนินกัทลี ฯ
พระอินทร์ตามนางสุชาดา
ปิ่นบูรินทรราชอคิศร ขจรเกียรติเกริ่นฟ้าทุกราศี
กับสามองค์อัคเรศเทวี มีพระนามเนืองนับสุธรรมา
สุจิตราสุนันทาวิไลลักษณ์ เจริญพักตร์ในเทวนาถา
สุรางค์นาฎชึ่งเป็นบาทบริจา ดั่งดาราในหมึ่นจักรวาล
พระลดองก์ลงเหนือบัลลังก์รัตน์ เกษมสวัสดิ์ด้วยบำรุงบำเรอสถาน
พลางพิศโฉมวธุรสยุพาพาล ชึ่งโดยเสด็จมาสำราญพิมานทอง
คำนึงถึงสุชาดายุพาพักตร์ เคยร่วมรักฤๅมาร้างดังหมางหมอง
นิจจาเอ๋ยเหมือนพี่เมินสะเทิ้นครอง ไฉนน้องเจ้ามาไค้อาดูร
จึงส่องดวงเนตรทิพลงหยิบเหตุ เห็นประเวศอยู่ในภพอสูร
จะสำราญยังพิมานไพฑูรย์ ฤๅจะพูนสวัสดิ์ในวิไชยันต์
โอ้ปางนี้ควรพี่จะพาสมร เดินอัมพรมาพิมานแมนสวรรค์
จะไว้ยศปรากฎให้พร้อมกัน เป็นจอมจรรโลงเทพนารี
ครั้นเสร็จถวิลปิ่นภพอัมเรศร์ ไม่สั่งองค์อัคเรศมเหสี
พระทรงวชิราวุธแล้วจรลี ยังมหาธานีอสุรา ฯ
บังองก์สารถีผู้ชาญฤทธิ กำหนดคิดดำเนินเทวนาถา
ก็แจ้งในฤทัยทิพอัชฌา จึงแต่งรัถาตามเสด็จจร
มหาเวชยันต์ราชรถ อลงกตด้วยแก้วประภัสสร
หกหมึ่นเส้นสุดท้ายธงเงื้อมงอน เทวบุตรอัสดรกำหนดพัน
นิรมิตเป็นสินธพชัก จักรดุมเลื่อนเหียนดั่งกังหัน
งามดังดวงเทพสุริยัน เมึ่อพุ่งแสงสัตพ้นไปอัสดง
บัลลังก์แก้วแลคันเศวตฉัตร กำหนดยาวโยชน์ทัดงามระหง
เครึ่องสูงจูงจิตให้พิศทรง ก็ขับลงยังพิภพอสุรี
ฝ่ายองกเนวาสิกาสูร สมบูรณ์ด้วยสมบัติดังโกสีย์
ตั้งพิมานสถานราชธานี ในระหว่างตรีกูฏใต้พระเมรุธร
ประดับด้วยเสนางค์สุรางค์นาฎ ท้าวมีราชธิดาดวงสมร
ไม่ประสงค์ที่จะทรงสยุมพร ก็อาวรณ์ทื่จะครองพระวงศ์ไป
ให้ประชุมมาวหมู่อสูรภพ ในมณฑปไพชยนต์พินิจฉัย
เสด็จนำพระยาธิดาใจ ให้นั่งในอาสน์แก้วอันพรรณราย
ฝ่ายองค์วาสวรินทร์ผู้ทรงจักร ประเวศยังกรุงยักษ์ก็สมหมาย
จึ่งอ่านเวทบังเนตรจำแลงกาย ก็กลายเป็นพฤฒาอสุรี
ยุรยายรเข้าในอาสนบประชุมพร้อม นั่งปลอมองค์อยู่ด้วยวงศ์ยักษี
พินิจพิศโฉมราชเทวี พลางระวังมารที่จะราญรอน ๆ
ส่วนเนวาสิกาสูรราช ถนอมสวาทพระธิดาดวงสมร
อ้าแม้มีพักตร์อันสุนทร จงผ่อนจิตคิดคำของบิดา
อสูรใคที่จะครองประคองสม เป็นคู่ชมชูชื่นเสน่หา
จงสวมพวงทองทิพมาลา ที่หัตถาให้ประจักษ์อสุรี
บัดองค์สุชาดาวิไลลักษณ์ เฟี้ยมพักตร์คิคคำท้าวยักษี
ความอายฤๅจะวายแก่สตรี มิรู้ที่จะประกอบให้ชอบการ
จำจิตเกรงฤทธิ์พระปิตุราช เบื้องวิลาสจาอาสน์พิมานสถาน
ชม้ายชายนัยนายุพาพาล ที่ประชุมมารหมู่พลากร
เห็นโฉมเทพสุราพฤฒาสูร ให้พูนสวัสดิ์โสมนัสฤทัยสมร
สลัดพวงเสาวรธสุคนธร ไปสวมกรอสุราชหัสนัยน์
โฉมสุรางค์อสุรีอันมีศักดิ์ เหล่าย้กษ์ที่ประชุมก็สงสัย
องค์ธิดามิได้คิดอาลัยใจ เสน่ห์ในอสุราทิพาพงศ์
กระสันแสนเสน่หาพฤฒายักษ์ ไปรักกาพาสูญประยูรหงส์
ก็ซร้องเสียงพร้อมทูลพระบิตุรงค์ ให้เชิญองค์นางคืนพิมานจันทน์ ฯ
ปิ่นบุรินทรราชอันเรึองฤทธิ์ ประกาศิคในสองชั้นสวรรค์
แสดงกายให้ประจักษ์แก่กุมภัณฑ์ ผันพักคร์เข้าประคองพนิคา
อุ้มนางทางเทวสิงหนาท ร้องประกาศเหวยมารยักษา
กูเรืองฤทธิ์อิศเรศในเทวา ผ่านมหาสุทัสนธานี
หวังว่าจะพาดวงสวาท นิราศจากอสูรภพแห่งยักษี
แลวผาดแผลงแกว่งจักรด้วยฤทธี จรลีขึ้นยังทิฆัมพร ฯ
เนวาสิกาสูรฤทธิรงก์ เห็นองค์วัชรินทร์พาสมร
ในท่ามกลางแสนยาพลากร ให้อาวรณ์ร้อนเร่าซึ่งอัประมาณ
ดั่งไฟฟ้าผ่าดวงมาโนช อสูรโกรธคือเพลิงเถลิงผลาญ
แล้วเผ่นโผนเหาะไล่ไปรอนราญ กำลังหาญจะให้ทันัซึ่งไพรี
เหลียวสั่งหมู่มารยันชาญฤทธิ์ เร่งประชิดติดตามท้าวโกสีย์
ไม่ต่อรับจับเป็นไปธานี เเม้นตอบตีโยธีจึงเอาตาย
เสนารับรสพจนารถ ประกาศหมู่อสูรทั้งหลาย
เห็นได้ทีไพรีแต่เดียวกาย ก็รีบหมายไล่ชิงซึ่งกัลยา ๆ
พระจอมมิ่งมงกุฎทิพเทเวศ หัตถ์ซ้ายอุ้มอัคเรศเสน่หา
กรขวาทรงจักรอันศักคา เหาะมาพบรถวิไชยันค์
สมประสงค์ดั่งองค์สเรนทร์คิด เทวฤทธิ์ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
ประคองโฉมสุชาดาวิลาวัลย์ จรจรัลขึ้นราชรถชัย
วางองค์ลงเหนือบัลลังก์รัตน์ พระกล่าวอรรถโอภาปราศรัย
เจ้าดวงสมรแม่อย่าอาวรณ์ใจ อันภัยมารมิให้ระคายกาย
สุชาดาน้อมองค์ลงทูลสนอง ไม่ปองจิตคิดจงจำนงหมาย
คืนไปกรุงอสุรีให้มีลาย จะสู้วายชีพใต้บทมาลย์
พอเหลือบเห็นอสุราเข้ามาชิด ประกาศิคชึ่งเทวบรรหาร
ให้รีบเร่งรถแก้วสุรกานฑ์ ผยองผ่านสิมพลีสกุณา
สารถีให้ทีสินธพชัก จักรกงกำก้องพระเวหา
สนั่นเสียงเท้าเทวอาชา เริงร่าลำพองด้วยฤทธี
ส่วนสุบรรณโปดกปักษิน ได้ยินกงรถแห่งโกสีย์
ก้องสะเทือนเลึ่อนลั่นถึงสิมพลี ดั่งอสุนีผ่าพื้นพิมานทอง
ต่างตระหนกตกใจไมมีขวัญ สร้อยเศียรชูชันเสียวสยอง
กระหยับหางกางปีกกระพือลอง ก็บรรสานเสียงร้องขึ้นทุกคน
พระตรัสถามสารถีที่ขับรถ สำเนียงใดปรากฏในกลางหน
น้อมภิวาททูลบาทยุคล ว่ามาใกล้ไพชยนต์สิมพลี
ลูกสุบรรณตกใจวิไชยันต์ กงสนั่นลั่นก้องถึงปักษี
ประหวั่นพรั่นเสียงรถและพาชี สกุณีจึ่งร้องด้วยกลัวภัย ๆ
ผ่า่ยองค์วัชรินทร์เทวราช ได้เสาวนารถมาตุลีก็หม่นไหม้
ให้อาวรณ์เร่าร้อนในฤทัย จะรีบไยไปให้พ้นอสุรา
เหมือนไมีมีอาลัยแก่ปักพิน แม้นม้วยด้วยไพรินยักษา
ไม่สูญเสียทางธรรม์อันศักคา จะตั้งเมตตาไว้ให้ถาวร
จึงสั่งให้กลับราชรถทรง ดุรงค์รู้บรรหารด้วยชาญสมร
ประทับไว้ในวิถีทิฆัมพร เฉลิมงอนต่อพาลไพรี ๆ
ฝ่ายเนวาสิกาสุรราช ผาดเห็นธงรถทรงท้าวโกสีย์
สะบัดโบกหน้ามายังโยธี หมายว่าหนีฤๅจะพ้นชึ่งมือมาร
แล้วประหวั่นพรั่นในฤทัยคิด ด้วยบุญฤทธิ์อัมราศักคาหาญ
ดั่งเทวัญพันหมื่นจักรวาล มาคงราญรอนทัพอสุรา
ให้สลดระทดระทวยองค์ เหมือนจะท่าวทบลงในเวหา
ไม่อาจรอต่อเทวศักคา เลิกแสนยากรกลับไปธานี ๆ
วัชรินทรราชฤทธิรงค์ เห็นองก์เนวาสิกาสูรยักษี
แสยงเดชอิศเรศไม่ต่อตีI ยกโยธีหนีกลับไปเมืองมาร
สั่งให้เดินโยธาวิชัยรถ บทจรคืนไพชยนต์สถาน
สารถีรับเทวโองการ ก็ขับผ่านสิมพลีพิมานไป ๆ

พระอินทร์คืนนคร
ดำเนินโดยอากาศวิถี ตามราศีจักรวาลหว่างไศล
พระชี้ชวนสุชาดายาใจ ให้ชมน้ำในสีทันดร
แปดหมึ่นสี่พันโยชน์ลึกกว้าง อยู่หว่างมหาสิงขร
กำหนดเขาสัตตภัณฑ์ชโลธร ชะง่อนสูงกว้างลึกละกึ่งกัน
ใสสะอาดมาตรแม้นมยุรหงส์ จะวางแววหางลงไม่หวนหัน
จนกระทั่งทรายแก้วอันแพรวพรรณ เจ็ดชั้นล้อมรอบพระเมรุทอง
ฝูงพระยาวาสุกรีลงสรงเล่น โลดเต้นฝ่าหลังชลาล่อง
ฉวัดเฉวียนเวียนพ่นบังหวนฟอง ละอองน้ำดั่งสายสุหร่ายริน
จึ่งเบือนพักตร์ไปพิศสาคเรศ นอกเขตเขาอัสกรรณกระแสสินธุ์
ดั่งคงคาในท่ามุจลินท์ สิ่งมลทินมิได้ปนระคนพาน
ขนองคลื่นสูงแต่พื้นสมุทร หกสิบโยชน์โดยสุดประมาณสถาน
ชมมหามัจฉาเจ็ดประการ บ้างว่ายแหวกแถกธารในวังวน
เหล่ามหิรมิงศโรหา มินคลาไล่คู่อยู่สับสน
ติมิงคล์ชิงมิงเชยชล อานนท์ลอยเศียรหางขึ้นขวางกาย
ยาวพันโยชน์เยิ่นดั่งเนินผา กลอกตาดูดวงพระสุริย์ฉาย
ไม่ย้ายเยี้องแพลงพลิกกระดิกกาย ก็ถอยหลังยังสายชโลธร ๆ
พลางชวนชมอัสกรรณวิเชียรรัตน์ ดั่งวงฉัตรปวะเทศสิงขร
วารีพุพุ่งพุงลงสาคร หมู่ทวยเทพนิกรมาเชยชม
วินันตกงามกลมประสมศร ด้วยไพรทีแก้วลายระบายถม
มีวุ้งเวิ้งแท่นทองที่ต้องลม เตือนอารมณ์ให้เกษมในไสยา
เนมินท์พิศทรงเหมือนกงรถ จอมบรรพตเลิศล้วนมณีผา
กระลอกรุงพุงพรายถึงเมฆา เล่ห์วลาหกทิพอันพรวยพรำ
โน่นสุทัสน์ควรทัสนาสถาน แก้วประพาฬย่อมแท่งดูแดงขำ
ชะง่อนเงื้อมง้ำแหว่งดั่งแกล้งทำ มีคูหาท่าน้ำทุกแนวเนิน
นั่นเชิงชั้นการวิกบรรพต ง้ำกำหนดชั้นการเวกเหิน
เป็นหุบเหวตรวยตรงลงโตรกเตริน สว่างเพลินไปด้วยแก้วสุรกานต์ ๆ
สิขรินอิสินธรรัตน์ แจ่มจำรัสไขสีมุกดาหาร
เมื่อน้อมยอดรองบาทพิชิตมาร ประสานเสียงคู่ขุนยุคุนธร
คิรีนี้ล้วนแก้วมณีโชติ จืงแผลงแสงรุ่งโ่รจน์่ประภัสสร
สูงเสมอปรางค์จันทน์ทินกร เดินอัมพรไปทั้งสองเทวัญ
ธตรฐเนาในบูรพทิศ ไพจิตรไปด้วยทิพรังสรรค์
บริวารล้วนเทพคนธรรพ์ งามมไหศวรรยาและธานี
เวสสุวรรณอันทรงมเหศร สถิตที่อุครราศี
แสนเกษมสมบัติสวัสดี เป็นจรรโลงโมลีอสุรา
นั่นองค์วิรุฬปักษ์เทเวศ อยู่ประเทศปราจิมทิศา
เป็นปิ่นมงกุฏแห่งนาคา ทรงศักคาฤทธิราญรอน
วิรุฬหกเป็นใหญ่ในกุมภัณฑ์ พิมานเมศเจ็ดชั้นประภัสสร
ประจำทิศทักษิณยุคุนธร ดำรงทิพนครละกลกัน ฯ
พลางชมชวนยวนเย้าเสน่หา หวังให้ดวงวนิดาเกษมสันต์
แล้วรีบเร่งรถาวิไลวรรณ ก็บรรลุยังสุทัสนธานี
ประทับรถเข้าเคียงกับเกยมาศ จึ่งจงกรเยาวราชมเหสี
โดยเสด็จวรบาทจรลี เข้าสู่ที่แท่นแก้วอลงกรณ์ ฯ
ลดองค์ลงแนบกนิษฐา พระจึ่งกล่าววาจาประโลมสมร
เจ้าพวงทิพเสาวรสสุคนธร แต่เรียมจรจากน้องก็นมนาน
สุดแสนอาดูรพูนเทวษ เพราะทุเรศแรมรสฤดีสมาน
เมึ่อสามองค์นงลักษณ์ยุพาพาล ได้สำราญในพิมานวิไชยันต์
ไม่เห็นดวงพักตร์มิ่งสมรมิตร ปิ้มชีวิตพี่จะม้วยด้วยโศกศัลย์
แค่เคร่าครองปองโฉมวิไลวรรณ เพิ่งไค้ขวัญเนตรมายังธานี
เชิญร่วมสุขเศวตฉัตรสมบัติทิพ อันลอยลิบเลิศจักรราศี
เป็นจอมจรรโลงเทพนารี มิให้สายสวาทพี่อนาทร ๆ
บัดองค์อัปสรสมรนาฏ บังคมทูลเทวราชมเหศร
คุณพระล้ำดินฟ้าแลสาคร ซึ่งอาวรณ์ด้วยทรงพระเมตยา
หากว่าน้องมิได้แจ้งในใจทิพ ชื่งเลือกหยิบเอาแค่ข้อเสน่หา
จะเชึ่อขานคำหวานพระพรรณนา แต่ชาวฟ้าท่านที่เคยภักคี
แม้นรักจริงฤๅจะทิ้งให้ทนเทวษ ไปเนาในนักเ็รศแห่งยักษี 1
นี่จงชมสมบัติในธานี จึ่งลีลาศไปประพาสถืงเมืองมาร
พอสบคล้องก็ได้น้องมารองบาท ดั่งโศกแสนพิศวาสพระบรรหาร
ยังไม่ควรรับเทวโองการ อันประทานที่ปิ่นสนมใน ฯ
เจ้าดวงสมรอดิศรอัคเรศ แม่ขวัญเนครผู้ยอดพิสมัย
อย่านึกแหนงแคลงคำให้ช้ำใจ ว่าเรียมไม่อาลัยพนิคา
เมึ่อเรื่มพรากจากไปเป็นปักษิน อยู่รัหว่างวารินที่เนินผา
ประพฤติเพศโดยพรรณสกุณา แสวงหามัสยาในสาชล
แล้วอุ้มนาฏปักษามาไพชยนค์ ให้ชมสระโกมลลดาวัลย์
แต่หากน้องข้องขัดไม่อยู่ได้ ก็วอนให้พาคืนวนาสัณฑ์
เพราะเวรหลังกำจัดจึ่งพลัดกัน ผูกพัน่เคียดแค้นด้วยข้อใด
แสนเสน่หาน้องถึงเพียงนี้ คิดดูเถิดว่าจะดีหรือหาไม่
พลางสัมผัสให้ปรากฎซึ่งรสใจ แล้วคว้าไขวในเชิงภิรมยา ฯ
สุชาดาป้องปัดสลัดกร คมค้อนผลักทิพหัตถา
เลึ่อนองก์ลงจากอาสน์ที่นิทรา ชายตาต่อตาสุเรนทร
นิลเนตรต่อนิลเนตรนาฏ ดั่งพรหมาสตร์แผลงซ้ำกระหน่ำศร
ไปทอแทงแสงรัชนีกร สะท้อนถึงท้องถ้ำสุรกานต์
เลี่ยงพักตร์เบี่ยงบงกชรัตน์ วัชรินทรพร้องสนองสาร
เจ้างามงอนยุพเรศสุมามาลย์ จะรอนราญรสรักพี่กลใด
นิจจาเอ๋ยกระไรเลยไม่คิดบ้าง ให้เจ็บจากพรากร้างไปถึงไหน
มาเถิดมามิ่งสมรมิตร จะครองไมตรีจิตกนิษฐา
เฉวียนกรอุ้มแก้วกัลยา มายังแท่นรัตนอันรูจี
โฉมอนงค์องค์เทพอัปสร ประจงกรเปลื้องกรท้าวโกสีย์
ให้ปรากฏยศเทวสตรี แสร้งวาทีแยบเยื้องรำพัน
พระเป็นใหญ่ในสองชั้นฟ้า ชื่งพามาให้ครองมไหศวรรย์
ดั่งดอกไม้รังพื้นพนาวัน ฤๅจะทันมณฑาที่เคยทรง ฯ
เจริญศรีสวัสดีดวงสมร งอนคำน้ำเพชรสุหร่ายสรง
อย่าหมองข้องเคืองระคายองค์ พี่จงรักฤๅมาชักให้ช้าที
พลางจุมพิตพักตร์อัคเรศ เสพสมรมเยศเกษมศรี
กระแหม่วแนวนวลทิพนาภี ดวงฤดีดัดฤดีประลองคะนอง
กรสอดสอดเลี้ยวเกี้ยวกระหวัด สะพัดแอบแนบชิดสนิทสอง
ดั่งแท่งแก้วอันทำเป็นลำยอง สะดุ้งหลังแท่นทองที่ไพชยนต์
วลาหกเทวบุตรเมื่อคิมหันค์ ก็อัดอั้นดั่งจะปรายซึ่งสายฝน
พายุพัดกลัดเมฆที่มัวมน มิให้หล่นลั่นฟ้าลงมาดิน
นันทโบกขรณีสี่สถาน บันดาลแล้งแห้งทางระหว่างสินธุ์
ส่วนพระยาคชเรศเทวินทร์ กระหายวารีดิ้นพิมานทอง
หนึ่งดอกดวงพวงพุ่มผกามาศ ครั้นอากาศมืดคลุ้มชอุ่มหมอง
ก็คลี่คลายขจายกลบเรณูรอง ละอองสร้อยเสาวรสรำเพยพาน
แล้วเชยดวงพวงทิพสังวาส ปรามาสมณฑาทองสองสมาน
ค่อยชึ่นเริงเชิงเล่ห์ระเริงลาน เป็นสุขสุดสำราญในเทวัญ
พระลืมชมอุทยานสนานสินธุ์ โฉมยุพินลืมสิ่งเกษมสันต์
สุเรนทร์ลืมออกมุขวิไชยันย่ นางลืมพงศ์กุมภัณฑ์แลธานี ฯ
ครั้นเว้นว่างทางเทวสัมผัส นางแย้มวัจนาทูลท้าวโกสีย์
น้องไกลองค์ปิตุเรศอสุรี ด้วยภักดีโดยบาทบดินทร
แม้นพระจากไพชยนต์วิมลมาศ ขอลีลาศโดยเสด็จอดิศร
จำเริญสวัสดิ์โสมนัสถาวร ด้วยพรปิ่นเทวราชบัญชา ฯ
เจ้างามล้ำอัปสรสมรมิตร สมดั่งคิดเรียมแสนเสน่หา
จงประสิทธิ์ดั่งจิตเจตนา กนิษฐาอย่าร้อนอาวรณ์ใจ
แล้วปลุกปลื้มอารมณ์ให้ชมช้ำ พระรื้อรำ่เรื่องรสพิสมัย
สองสมานสำราญทิพฤทัย อยู่ในปรางค์แก้วเจ็ดประทาร ฯ
ฝ่ายเนวาพิกาสูรราช ลีลาศถืงนครบวรสถาน
สถิตย์ยังบัลลังก์รัตน์ช้ชวาล ให้ดาลเดือดฤทัยแก่ไพรี
แค้นอายดังจะวายชีวิตม้วย ด้วยโกมินทร์หมิ่นศักดิ์ยักษี
กำจัดพรากจากเทวธานี แล้วมิหนำซ้ำพาธิดาไป
เจ้าดวงเนตรของปิตุเรศเอ๋ย จะชื่นเชยชมชิดพิสมัย
อสุรินสุริยวงศพระองค์ใด ไม่เห็นใครที่จะสืบศฤงคาร
สงวนไว้จะบำรุงเป็นสูงภพ เจ้างามลบโฉมโลกทุกสถาน
แม่เจริญสวัสดิ์อยู่ในรัตนพิมาน พ่อสำราญฤทัยไม่เว้นวาย
อสูรเอ๋ยอัปยศในครั้งนี้ ไม่รู้ที่จะล้างครหาหาย
ถึงจะคืนบุตรีก็มีลาย จะเอาอายนั้นไปแฝงที่แห่งไร ฯ
ครั้นระงับดับอาดูรสวาท ลีลาสออกพิมานพินิจฉัย
เถลิงบัลลังกอาสน์อำไพ ในภายใต้ฉัตรแก้วสุรกานต์
หมู่เสนางค์ต่างเฝ้าประจำองค์ ทรงดำริด้วยราชบรรหาร
พอแคฝอยคลี่สร้อยสุมามาลย์ เบ่งบานเสาวรสรำเพยขจร
คิดคำนึงถึงปาริกชาติ เคยประพาสเชยทิพเกสร
จำทะทำสงครามวัชรินทร คืนสุทัสน์พระนครสวรรยา ฯ
จึ่งสั่งสามอสุรีที่ชาญฤทธิ์ จิตราสูรอุปราชเป็นทัพหน้า
ทัพสองกาลสุทอสุรา เอาเสนากาลสูรเป็นตรีทัพ
จะขึ้นไปรณรงค์ด้วยโกสีย์ เหวยอสูรหัตถีเครื่องประดับ
โยธาเราคณานับ มาคอยรับเสด็จหน้าพระลานชัย
พอล่วงราชบบัญชาประกาศิต ก็แจ้งจิตไปด้วยทิพนิสัย
ตลอดจนอสุรภพทั้งใกล้ไกล มาพร้อมในที่ประชุมพลากร ฯ
ฝ่ายองค์จอมอสุเรศอันเรืองยศ อลงกตทิพยรัตน์ประภัสสร
ทรงวิเชียรเสโลแล้วบทจร มาขึ้นยานกุญชรอันนฤมิต น
มหิสูรแปลงกายเป็นหัตถี มีสีดังเงินยวงท้าวสถิต
สูงร้อยห้าสิบโยชน์กำลังฤทธิ์ เหมือนจะปิดสุริยาลงมาดิน
เครึ่องประดับสรรพทั่วสารพางค์ แค่ละอย่างช้างทรงองค์โกสินทร์
หมายประจญเอราวัณอินทร์ จะเพิกพังปฐพินพระเมรุทอง
ส่ายหน้าร่างากระหึมมัน กระชันหูชูงวงเยื้องย่อง
ดุเดือดเงือดเงื้อจะแทงลอง คะนองเสียงเพียงสังข์พิชัยยุทธ์
พวกพลโยธากว่าแสน เนืองแน่นโกลาอุตลุต
พลมารห้าวหาญชาญยุทธ์ มาหยุคยั้งเชิงเมรุคิรี ๆ
สั่งให้เข้าหักด่านตาล จับนาคพลทหารของโกสีย์
ครั้นได้ฟังสารสั่งอสุรี แผลงฤทธีหมายจับซึ่งภุชงค์ ฯ
คณานาคพันโกฏิอันรักษา เชิงมหาศิขเรศก็พิศวง
เห็นอสูรสงครามรณรงค์ ไม่องอาจที่จะรอต่อมือมาร
ดังกุญชรกาสรมฤคเพศ แสยงฤทธิ์สิงหเรศประหารผลาญ
ภุชงค์หนีไพรีไม่ต่อพาล ไปชั้นบาดาลปฐพี ฯ
จอมภพสุรพงศ์ผู้ทรงสวัสดิ์ ให้รีบรุดโคยเมรุวิถี
ถึงสุบรรณอันประดับด้วยโยธี ยกเข้าตีปักษินไพชยนต์ ฯ
ส่วนพระยาทิชาชาติก็หวาดจิต เห็นฤทธิ์อสุรีคะลึงฉงน
เล็งด้วยทิพยสิบทั่วไม่สิ้นพล ดังสายฝนช่านไปในจักรวาล
หมู่สุบรรณพันโกฏในสิมพลี ทฤษฎีแล้วทุเรศจากสถาน
ก็เหาะหนีอสุรีไม่รอนราญ ไปพิมานชั้นประชุมซึ่งกุมภัณฑ์ ฯ
ปิ่นมกุฎอสุรีสวัสดิราช หมายคืนกรุงเมรุมาศมไหศวรรย์
ครั้นมีชัยในราชสุบรรณ ให้ยกตีชั้นสามไม่คร้ามคิค ๆ
ทัพพระยากุมภัณฑ์อันรักษา ชั้นมหาบรรพตอันไพจิตร
เห็นสงครามลามล่วงกระชั้นชิด กำล้งฤทธิ์เพียงเพชรปาณี
ครั้กกะสู้ดูหนึ่งไม่มีสัตย์ ดำรัสแล้วพาพวกโยธีหนี
ก็แตกร่นย่นฤทธิ์อสุรี ถึงชั้นสี่ทีป่ระชุมไพชยนต์ยักษ์ ฯ
องก์อสูรอันสมบูรณ์อิสริยศ ก็ปรากฎอดิศรขจรศักคื้
ดังได้สมบัติในจตุรพักตร์ ให้เร่งยกหักด่านบุรินทร
ส่วนสาตาคิรีผู้เป็นใหญ่ นภาลัยมณฑลสิงขร
ทั้งเสนามาตยาพลากร ก็ณาญรอนฤๅไพรี
เห็นสามชั้นมิได้กั้นประจามิตร ให้ติดตามมาสงครามถึงยักษี
ไม่สามารถตั้งมั่นประจัญตี พาโยธีหนีไปกุนทริน ฯ
ฝ่ายองค์เนวาสิกาสูร ยิ่งเพิ่มพูนสุรฤทธิ์ดังจิตถวิต
ให้ทัพหน้าเร่งเร้าพลพฤนท์ เหาะข้ามสินธุไปยังขุนยุคนธร ฯ
ฝ่ายจาตุมหาราชิการาช ทรงซึ่งทิพอาสน์มเหศร
เป็นอิสระอยู่ในสันดร ขจรยศปรากฎทั้งจ้กรวาล
ครั้นแจ้งว่าสุราอสุรภพ จะรบชั้นเทวัญวิมานสถาน
ดำรัสเรียกซึ่งดุรงค์บวรยาน หมู่เทเวศบริวารในธานี ฯ
เหล่าสุราภพพลมาตย์ ได้ฟังวราชบัญชาทุกราศี
มาชุมพร้อมกันที่จอมโยธี โดยวิถีเทวราชบทจร ฯ
ตระบัดท้าวฟังศรีผู้มีสวัสดิ์ ประจงโจงทิพรัตน์ประภัสสร
ดูเปล่งปลาบอาบศรีฉวีวร แล้วทรงขรรค์กรายกรขึ้นม้มา ฯ
สินธพเทเวศนฤมิคต เป็นสีทองชวลิตทั่วมังสา
สูงระหงทรงทิพโอภา รจนาเครื่องประดับสำหรับยศ
เหาะรอบขอบจักรวาลไม่ทันช้า สี่เท้าเร็วยิ่งกว่าลมกรด
ให้คลายคลี่โยธีเป็นหลั่นลด บทจรไปต่อด้วยไพรี ฯ
เหลือบเห็นพลอสุราเสนาทัพ ให้หวาดหวั่นพรั่นพลับอาชาหนี
พาซึ่งเทพเจ้าและโยธี ก็จรลีไปสุทัสนนคร ฯ
เข้าทูลองค์วาสรินทร์เทวราช ตามแต่บาทยุคลอดิศร
อสุรีกรีทัพแสนยากร มารุกรอนชั้นยอดยุคละรินทร์
หมู่สงครามลามล่วงกำเริบนัก พระปิ่นปักหลักโลกจงทรงถวิล
จะหมิ่นยศเทวาชั่วฟ้าดิน องค์ศักรินทรืได้เมตตา

(จบฉบับเพียงนี้)

Wednesday, February 4, 2009

การ์ตูนคัมภีร์ธรรม

กฎแห่งกรรม
เหตุต้น-ผลกรรม
จงทำดี ได้ดี มีความสุข
ปลดความทุกข์ เบิกบานใจ หรรษา
มีหนังสือเล่มนี้ คอยนำพา
ขอเชิญมา เปิดอ่านให้เข้าใจ

เหตุใดชาตินี้มียศฐาฯ
ปิดทองพระพุทธชาติก่อนไว้
ชาติก่อนสร้างสมกุศลไวง้
ทั้งวอนไหว้ถวายผ้าครองพระองค์
ปิดทองพระหรือว่าไปปิดกายตน
ครองผ้าบนองค์พระ ตนก็ได้
อย่าหมายว่ามียศฐาฯ นั้นง่ายดาย
ไม่ได้สร้างสมไว้ ฤๅ ได้มา

เหตุใด ได้ขี่ม้ามีพาหนะนั่งคานหาม
ผลจาก ชาติก่อนซ่อมสร้งสะพานทางสัญจร

เหตุใด สวมใส่แพรพรรณอันงดงาม
ผลจาก ชาติก่อนถวานจีวรแด่พระสงฆ์

เหตุใด มีเสื้อผ้าอาหารบริบูรณ์
ผลจาก ชาติก่อนเกื้อหนุนข้าวน้ำแก่คนจน
เหตุใด อัตคัตอดอยากยากไร้
ผลจาก ชาติก่อนเฟื้องไพไม่ให้ทาน

เหตุใด มีบ้านเรือนใหญ่โตโอฬาร
ผลจาก ชาติก่อนนั้นถวายข้าวสารเข้าวัด

เหตุใด บุญวาสนาสักการะบริบูรณ์
ผลจาก ชาติก่อนสร้างวัด, ศาลาพักร้อน

เหตุใด เกิดมางามสง่าหน้าตาดี
ผลจาก ชาติก่อนถวายดอกไม้สดบูชาพระ

เหตุใด เกิดมาปราดเปรื่องเรืองปัญญา
ผลจาก ชาติก่อนภาวนาหมั่นสวดมนต์

เหตุใด สามีภรรยาครองกันอยู่
ผลจาก ชาติก่อนถวายผ้าคู่บูชาพระคู่ประดับพระ

เหตุใด มีพ่อมีแม่อยู่พร้อมหน้า
ผลจาก ชาติก่อนไม่ดูแคลนคนไร้ญาติ
เหตุใด ขาดพ่อขาดแม่เป็นกำพร้า
ผลจาก ชาติก่อนพรากลูกนกลูกกา

เหตุใด ลูกหลานมากมายใกล้ชิด
ผลจาก ชาติก่อนช่วยชีวิต ปล่อยนกกา
เหตุใด ชาตินี้ไม่มีลูก
ผลจาก ชาติก่อนผู้ใจเกลียดลูกหลานเขา

เหตุใด ชาตินี้มีอายุยั่งยืนนาน
ผลจาก ชาติก่อนทำทานซื้อสัตว์ปล่อย
เหตุใด อายุสั้นในชาตินี้
ผลจาก ชาติก่อนคร่าชีวิตสัตว์ทั้งหลาย

เหตุใด ชาตินี้ขาดสามีต้องเป็นหม้าย
ผลจาก ชาติก่อนทำร้ายเหยียดสามี
เหตุใด ชาตินี้ไม่มีเมีย
ผลจาก ชาติก่อนลักลอบเป็นชู้ลูกเมียเขา

เหตุใด ชาตินี้ต้องต่ำเป็นบ่าวไพร่
ผลจาก ชาติก่อนเนรคุณไม่ช่วยเหลือใคร

เหตุใด ชาตินี้มีดวงตาสว่างใส
ผลจาก ชาติก่อนจุดโคมไฟถวายน้ำมัน

เหตุใด ชาตินี้เป็นหนวกใบ้
ผลจาก ชาติก่อนด่าพ่อแม่พูดหยาบคาย

เหตุใด ชาตินี้จึงหลังโก่งค่อมคด
ผลจาก ชาติก่อนเยาะเย้ยนักพรต คนไหว้พระ

เหตุใด เกิดเป็นม้าวัวควายในชาตินี้
ผลจาก ชาติก่อนเป็นหนี้ไม่จ่ายคืน

เหตุใด ชาตินี้สุขภาพดีไร้โรคภัย
ผลจาก ชาติก่อนบริจาคยาช่วยคนไข้

เหตุใด ยากจนไร้ญาติขาดมิตร
ผลจาก ชาติก่อนใจร้ายไม่ลดลา

เหตุใด เลี้ยงลูกไม่โตซ้ำขี้โรค
ผลจาก ชาติก่อนพยาบาทคาดแค้นใครเขาไว้

เหตุใด นัยน์ตาบอดมืดมน
ผลจาก ชาติก่อนจัดพิมพ์จำหน่ายหนังสือลามก

เหตุใด เกิดชาตินี้ปากแหว่งจมูกโหว่
ผลจาก ชาติก่อนชอบยุแหย่ให้เขาแตกกัน

เหตุใด ชาตินี้มืององ่อยเปลี้ย เสียแขน
ผลจาก ชาติก่อนตีพ่อตีแม่ทารุณท่าน

เหตุใด ชาตินี้ขาลีบงอคดโก่งพิการ
ผลจาก ชาติก่อนทำลายสะพานทางสัญจร

เหตุใด ชาตินี้โรคมากลำบากกาย
ผลจาก ชาติก่อนเห็นใครวอดวายนึกยินดี

เหตุใด ชาตินี้เกิดมาเป็นหมูหมา
ผลจาก ชาติก่อนเจตนาหลอกลวงคน

เหตุใด ชาตินี้ถูกจองจำ
ผลจาก ชาติก่อนเห็นใครอันตรายไม่คิดช่วย

เหตุใด ชาตินี้น่าสงสารต้องอดตาย
ผลจาก ชาติก่อนเยอะหยันด่าขอทาน

เหตุใด ชาตินี้เกิดมารูปชั่ว ต่ำเตี้ย
ผลจาก ชาติก่อนดูถูกคนรับใช้

เหตุใด ชาตินี้ต้องอาเจียนเป็นโลหิต
ผลจาก ชาติก่อนใส่ไคล้ยุแหย่คน

เหตุใด ชาตินี้หูหนวกไม่ได้ยิน
ผลจาก ชาติก่อนปิดใจไม่เชื่อพระธรรมคำสอน

เหตุใด ชาตินี้เป็นโรคเรื้อนแผลเน่าเรื้อรัง
ผลจาก ชาติก่อนทำร้ายทารุณสัตว์ไม่ปรานี

เหตุใด ชาตินี้กลิ่นตัวแรงน่ารังเกียจ
ผลจาก ชาติก่อนอิจฉาริษยาใครดีเกินหน้า

เหตุใด ชาตินี้ต้องแขวนคอตายเพื่อใช้กรรม
ผลจาก ชาติก่อนทำผู้อื่นเสียหายจนได้ดี

เหตุใด ชาตินี้จึงอ้างว้างเป็นหม้าย
ผลจาก ชาติก่อนใจร้ายไม่รักลูกเมีย

เหตุใด ชาตินี้ต้องเจ็บปวดเพราะไฟไหม้ ฟ้าผ่า
ผลจาก ชาติก่อนใส่ไคล้คนบวชเรียน

เหตุใด ชาตินี้ถูกงูเสือกัดทำร้ายเอา
ผลจาก ชาติก่อนก่อภัยสร้างศัตรู

เหตุใด สร้างข่าวลือทำลายใครต่อใคร
ผลจาก จะต้องตายเพราะถูกคนวางยา

เหตุใด ล่วงเกินลูกใครเมียเขา
ผลจาก ตัวเจ้าขาดคนครองคู่

เหตุใด อนุโมทนาร่วมทำบุญทั่วไป
ผลจาก จะได้ภรรยาสวยสะใภ้ดีเป็นศรีศักดิ์

เหตุใด เกิดเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน
ผลจาก ชาติก่อนคิดร้ายกับผู้มีพระคุณ

เหตุใด เกิดเป็นหมู ไก่ให้คนกิน
ผลจาก ชาติก่อนโกงเงินทำบุญ